นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ภาชนะเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุคอมโพสิทชีวภาพปาล์มน้ำมัน
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต และคณะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12732
สิทธิบัตร เลขที่ 171574
สิทธิบัตร เลขที่ 172680
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1502003763 ยื่นคำขอวันที่ 29 ตุลาคม 2558
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย นำไปสู่การขยายพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเศษวัสดุเหลือทิ้งจากสวนปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น การนำทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นของเสียมูลค่าต่ำและยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์จำนวนมากถึง 5.4ล้านตันต่อปี มาพัฒนานวัตกรรมวัสดุคอมโพสิทชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้สวนปาล์มน้ำมันและเมลามีน สู่การพัฒนาการออกแบบเป็นชุดผลิตภัณฑ์ภาชนะเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับร้านอาหารญี่ปุ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งได้เป็นอย่างดี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1.ได้นวัตกรรมวัสดุคอมโพสิตชีวภาพปาล์มน้ำมันกับเมลามีน โดยวัสดุคอมโพสิตมีค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านภาวะโลกร้อน ความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์และมนุษย์ต่ำกว่าเมลามีน 100% การแทนที่ปริมาณของเมลามีนด้วยเส้นใยปาล์มเพียง 10% สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ประมาณ 70-180 gCO2e
2.ผลงานได้จัดแสดงและได้รับรางวัลจากงาน 27 International Invention &Innovation Exhibition (ITEX 2016) ทั้งสิ้น 2 รางวัล
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวพิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์
โทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 3306
โทรศัพท์มือถือ 087-5659769
Email pimchanok@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ภาชนะเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุคอมโพสิทชีวภาพปาล์มน้ำมัน"