![]() |
||||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์
นายวสันต์ ยอดศรี ดร.ชิดชนก โชคสุชาติ ดร.น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ระบบฝึกสมรรถนะของมือและตา ตามแนวคิดตารางเก้าช่อง ผ่านระบบไอโอที ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแสดงผล คือ กล่องควบคุมที่มีหน้าจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว สำหรับใช้แสดงผลการฝึกสมรรถนะมือ และตา และผลการทดสอบในรูปแบบกราฟ พร้อมสายชาร์จพลังงาน และปุ่มกดเซ็นเซอร์ ชนิดไร้สายจำนวน 9 ชิ้น
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อใช้ในการทดสอบเวลาปฏิกิริยาของมือและตา เพื่ออธิบายการทำงานในระบบอัตโนมัติของสมองของมนุษย์ รวมทั้งวัดความคล่องแคล่วว่องไวของมือและการประสานสัมพันธ์ คุณสมบัติที่สำคัญของระบบดังกล่าว คือ สามารถใช้งานในภาคสนามได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์ไร้สายที่ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ด้วยระบบเครือข่าย ปุ่มกดที่ใช้ในโหมดฝึกซ้อม ทดสอบ และแสดงผลนั้นสามารถ ประยุกต์ใช้ได้ทั้งแบบ 3 และ 9 ปุ่ม มีการบันทึกผลลัพธ์การทดสอบและแสดงผลอัตโนมัติ และยังอัพโหลดเข้าสู่ระบบคลาวด์ และส่งอีเมล์ กราฟผลลัพธ์ของการฝึกได้ จำนวนข้อมูลที่สามารถเก็บได้มีปริมาณมาก สามารถนำไปใส่ในคลังข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ได้ในภายหลัง |
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ระบบดังกล่าวเป็นระบบไร้สาย ส่งผลให้มีความยืดหยุ่นในกำหนดโปรแกรมการทดสอบและโปรแกรมการฝึก/เรียนรู้ ตลอดจนมีความหลากหลายในการวางพื้นที่ (area) ในการทดสอบและการฝึกมากยิ่งขึ้น และแอปพลิเคชันยังมีความยืดหยุ่นในการสร้างรายละเอียดของแบบทดสอบ โดยเราสามารถใส่ข้อมูลของการฝึกได้หลากหลาย เช่น ระยะของเซนเซอร์ ระยะเวลาในการหน่วงเวลา จำนวนครั้งในการแสดงเซ็นเซอร์ เป็นต้น ซึ่งต่างกับอุปกรณ์การทดสอบแบบเดิมที่ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
|||||||
|