กระบวนการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติโดยใช้ไมโครบับเบิล
นักวิจัย  
ดร.มัทนา ฆังคะมโณ
นายสานิตย์ ศิริกุลชัยกิจ
นางสาวกุลธิดา เกตุแก้ว
ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ เกาะคู
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000736 ยื่นคำขอวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
กรรมวิธีการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติข้น เป็นกระบวนการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติข้น โดยจะปรับเปลี่ยนกระบวนการดันลอป ในส่วนของการกวนเร็วให้เกิดฟอง (foaming) และการกวนช้า (Refining) โดยใช้อากาศหรือก๊าซชนิดต่างๆ เช่น ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น ไหลผ่านดิฟฟิวเซอร์ (Diffuser) เพื่อทําใหเกิดฟองก๊าซขนาดไมโครเมตรในน้ำยางข้น ก่อนที่จะเติมสารก่อเจลเพื่อทําใหโฟมยางจับตัว จากนั้นเทใส่แบบพิมพ์และให้ความร้อนเพื่อให้โฟมยางเกิดการวัลคาไนซ์ ข้อดีของการใช้ฟองก๊าซขนาดไมโครเมตรคือได้ฟองก๊าซที่มีขนาดสม่ำเสมอกระจายอยู่ทั่วชิ้นงานโฟมยาง (Perfect bubbly) โดยที่ใชพลังานไฟฟ้าในการทําใหเกิดฟองน้อย กว่าการใช้เครื่อง Hobart mixer อีกทั้งยังสามารถเลือกขนาดฟองก๊าซได้โดยการเปลี่ยนขนาดของดิฟฟิวเซอร์ ซึ่งจะทําให้สามารถผลิตโฟมยางที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันได้ นอกจากนั้นการใชก๊าซไนโตรเจนในการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติยังสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของโฟมยางอีกด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรรมวิธีการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติข้น ทำให้ได้โฟมยางที่มีขนาดฟองก๊าซสม่ำเสมอ เเละสามารถใช้ก๊าซชนิดต่างๆ เช่น air, CO2, N2 เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยลดตนทุนในกระบวนการผลิตอีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074-28-9321
โทรศัพท์มือถือ 09-0970-7099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระบวนการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติโดยใช้ไมโครบับเบิล"