แผ่นฟิล์มโพลีแลคติคแอซิด (Polylactic acid) ที่มีส่วนผสมของเถ้าแกลบ
นักวิจัย  
รศ.สมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม
นางสาววรางคณา จอกลบ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1703002332
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการบรรจุภัณฑ์ภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปลง (Modified atmosphere packing, MAP) เพื่อยืดอายุและความสดใหม่ของพืชผักและผลไม้ โดยการเติมก๊าซชนิดต่างๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสมลงในบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้เทคนิคนี้ เช่น เห็ด แอปเปิ้ล มะเขือเทศ เป็นต้น
แต่ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ MAP มีข้อเสีย คือ ต้องทราบปริมาณที่เหมาะสมของก๊าซแต่ละชนิดที่ต้องเติมลงในบรรจุภัณฑ์ จึงมีการพัฒนากระบวนการผลิตแผ่นฟิล์มเพื่อใช้ในการยืดอายุของผลผลิตโดยไม่ต้องเติมก๊าซชนิดต่างๆ ลงในบรรจุภัณฑ์ โดยแผ่นฟิล์มที่ได้นี้มีคุณสมบัติในการให้ก๊าซแพร่ผ่านได้มากขึ้น ซึ่งแผ่นฟิล์มที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ผลิตมาจากพลาสติกสังเคราะห์ Polyethylene และ Polypropylene ย่อยสลายได้ยาก ไม่เหมาะที่จะนำมารีไซเคิล
ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาแผ่นฟิล์มที่มีสมบัติในการให้ก๊าซผ่านได้มากขึ้นจากวัตถุดิบ Polylactic acid ซึ่งเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ โดยทำการผสมกับเถ้าแกลบที่เป็นสูตรพิเศษ เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยืดอายุการเก็บรักษา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ย่อยสลายได้ง่าย ด้วยการฝั่งกลบ ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 6-12 เดือน
- ก๊าซซึมผ่านได้หลากหลายระดับ สามารถใช้หีบห่อผักผลไม้ได้หลากหลายชนิด
- ยืดอายุการเน่าเสียของกล้วยน้ำว้าได้นานถึง 14 วัน หรือนานเป็น 2 เท่า ของกล้วยน้ำว้าที่หีบห่อด้วยพลาสติกโพลิเอทธิลีนธรรมดาทั่วไป
- สามารถใช้เครื่องจักรที่มีอยู่แล้วขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม โดยไม่ต้องทำการปรับแต่งเครื่องจักรใหม่
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
จินดาพร พลสูงเนิน
โทรศัพท์ 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ 086-451-4455
Email chinph@kku.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผ่นฟิล์มโพลีแลคติคแอซิด (Polylactic acid) ที่มีส่วนผสมของเถ้าแกลบ"