การวัดตาเขด้วยระบบคอมพิวเตอร์และแสดงผลแบบอัตโนมัติ
นักวิจัย  
รศ.พญ.สุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์
ผศ.ดร.พรชัย พฤกษ์ภัทรานนท์
คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11206
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การวัดตาเขด้วยระบบคอมพิวเตอร์และแสดงผลแบบอัตโนมัติ ซึ่งอาศัยหลักการของการถ่ายภาพ มีขั้นตอนดังนี้ การถ่ายภาพโดยใช้แสงเพื่อให้เกิดแสงสะท้อนกลางตาดำ ทั้ง 2 ข้าง จากนั้นนำรูปมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการวางจุดไว้ที่กลางแสงสะท้อนกลางตาดำ และขอบตาดำทั้งด้านหัวตาและหางตา ในตาทั้ง 2 ข้าง จากนั้นนำระยะทางรวมระหว่าง ระยะจุดกลางตาดำจนถึงขอบตาดำด้านที่ติดกับจมูกของตาด้านขวา และระยะจุดกลางตาดำจนถึงขอบตาดำด้านที่ติดกับจมูกของตาด้านซ้ายมาหาอัตราส่วนเทียบกับผลรวมของขนาดลูกตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งวัดจากขอบตาขาวด้านหนึ่งไปถึงขอบตาขาวอีกด้านหนึ่ง ของตาทั้ง 2 ข้าง จากนั้นโปรแกรมจะนำอัตราส่วนดังกล่าวจากภาพถ่ายการมองระยะใกล้และไกล มาทำการเทียบกับอัตราส่วนที่ได้จากการศึกษาที่บรรจุข้อมูลอยู่ในโปรแกรม และ จัดพิมพ์ผลการวิเคราะห์ ให้แก่ผู้ใช้งานผ่านทางเครื่องพิมพ์อย่างอัตโนมัติ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
นวัตกรรมชิ้นนี้ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อตรวจจับสภาพตาเขจากภาพถ่าย แล้วให้คำแนะนำรายบุคคล ซึ่งสามารถตรวจได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการนำไปใช้จริงจุดเด่นของผลงานจะอยู่ที่การพัฒนาขึ้นใช้เองภายในประเทศ ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของประเทศ ใช้งานง่ายโดยบุคลากรทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรทางจักษุวิทยาซึ่งมีจำกัด ในการตรวจคัดกรองจะสามารถแบ่งผู้ถูกตรวจเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่มีแนวโน้มจะปกติก็จะได้รับคำแนะนำให้ ดูแลสุขภาพตาและคัดกรองในอนาคต กลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มจะเป็นเรื่องสายตาสั้น ยาว เอียงก็จะได้รับคำแนะนำให้ไปวัดแว่นสายตาซึ่งอาจจะเป็น ร้านแว่นตา หรือจักษุแพทย์ หรือโรงพยาบาล ส่วนกลุ่มที่ 3 ซึ่งมีโอกาสเกิดตาเขและความผิดปกติในการมองเห็นจะได้รับคำแนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์ ดังนั้นการที่แบ่งกลุ่มคนตามสภาพความผิดปกติจะเป็นการกระจายทรัพยากรออกไปตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล ไม่เกิดการกระจุกตัวอยู่แต่ในโรงพยาบาล นวัตกรรมชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ในแง่การกระจายทรัพยากรลงไปในแต่ละจุด ไม่กระจุกตัว และเป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางตา
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074289321
โทรศัพท์มือถือ 0909707099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การวัดตาเขด้วยระบบคอมพิวเตอร์และแสดงผลแบบอัตโนมัติ"