กรรมวิธีการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรด้วยเทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชั่น
นักวิจัย  
ผศ.ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000467 ยื่นคำขอวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเป็นสารอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบสลับซับซ้อนที่พืชสมุนไพรสร้างขึ้นโดยนำไปเก็บไว้ในส่วนต่างๆ เช่น เมล็ด ดอก ใบ ผล เปลือกของลำต้น ราก และเหง้า เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยจะได้จากการกลั่น หรือสกัดส่วนต่างๆ ข้างต้น ลักษณะทั่วไปของน้ำมันหอมระเหยมักจะเป็นของเหลวใส มีสีอ่อนๆ หรือบางชนิดอาจจะไม่มีสี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ลักษณะที่สำคัญของน้ำมันหอมระเหย คือ สามารถระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิปกติ และจะระเหยได้ดียิ่งขึ้นเมื่อได้รับความร้อน ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และป้องกันการระเหยอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกระบวนการทำไมโครเอนแคปซูเลชั่นด้วย Chitosan-alginate composite beads จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้สำหรับการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร เพื่อควบคุมการปลดปล่อยกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยออกมาอย่างช้าๆ และสามารถกักเก็บกลิ่นน้ำมันหอมระเหยได้ยาวนาน รวมทั้งสามารถยังคงรักษาคุณสมบั
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรรมวิธีการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรด้วยเทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชั่นด้วย Chitosan-alginate composite beads เป็นวิธีการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยด้วยวัสดุพอลีเมอร์ที่มีอยู่ทางธรรมชาติ เช่น Chitosan และAlginate ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บน้ำมันหอมระเหย และในขณะเดียวกันก็มีกลไกในการปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยออกมาในกรรมวิธีการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรด้วยเทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชั่นด้วย Chitosan-alginate composite beads น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นสกัดได้จะถูกนำมาผ่านกระบวนการทำอีมัลชั่น จากนั้นห่อหุ้มด้วย Chitosan-alginate composite beads จนได้เม็ดบีดที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยที่มีขนาดอนุภาคในระดับไมโครเมตร (ไมโครแคปซูล) และมีกลไกการปลดปล่อยกลิ่นออกมา
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวนิตยา ถาวัน
โทรศัพท์ 053875637
โทรศัพท์มือถือ 081-883-2696
Email ann.mjubi@gmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรด้วยเทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชั่น"