![]() |
||||||||
นักวิจัย
นายอาทิตย์ ยาวุฑฒิ
ผศ.ดร.พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1701003124 ยื่นคำขอวันที่ 6 มิถุนายน 2560
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การสกัด (Extraction) เพื่อนำสารเคมีออกจากพืชหรือสมุนไพร ปัจจุบันมีหลายวิธีการซึ่งการจะใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสารสกัดในพืชแต่ละชนิด คุณสมบัติการทนความร้อนและชนิดของตัวทำละลายที่ใช้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยี Pulse Electric Field หรือ PEF ที่เป็นการใช้ไฟฟ้าแรงดันสูง กระแสสูงในช่วงสั้นระดับ 10-6 วินาที ที่ความเข้มสนามไฟฟ้าประมาณ 10-20 KV/cm สามารถทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรคต่างๆ ในสารละลายได้ จากการศึกษาพบวาเครื่อง PEF ในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ แม้ว่ามีงานวิจัยในประเทศไทยที่พัฒนาเครื่อง PEF สำหรับระบบฆ่าเชื้อให้มีขนาดเล็กกว่าต่างประเทศแล้ว แต่ยังคงมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัม ดังนั้นจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องต้นแบบ PEF ให้มีขนาดเล็ก เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกหรือสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และลดต้นทุนการผลิตของสารสกัดพืชแต่ละชนิดได้
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วิธีการ ระบบและอุปกรณ์สกัดสารเคมีจากพืชด้วยสนามไฟฟ้าแบบพัลส์นี้ ใช้กระบวนการอิเล็กโทรโพเรชั่น (Electroporation) ในการทำลายผนังเซลล์ของวัตถุดิบพืชสับบดละเอียดที่อยู่ในของเหลวภายในห้องสกัดเพื่อให้สามารถสกัดนำสารเคมีออกจากเซลล์ของพืช โดยมีการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าแรงดันสูงกระแสสูงแบบพัลส์ สามารถปรับความถี่ของพัลส์ได้ ปรับระยะอิเล็กโทรดไฟฟ้าทรงกระบอกซ้อนแกนร่วมภายในที่สอดคล้องกับค่าความเข้มสนามไฟฟ้าภายในห้องสกัดได้ สัญญาณพัลส์ที่สามารถปรับ/เปลี่ยนแปลงได้นี้เพื่อรองรับตามคุณสมบัติของพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน สามารถสกัดสารเคมีออกจากเซลล์พืชด้วยความร้อนต่ำ รวมถึงได้น้ำมันหอมระเหยโดยไม่ใช้วิธีการแบบเดิมที่ใช้ความร้อนที่ใช้พลังงานสูง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำและใช้พลังงานน้อยและยังสามารถรักษาคุณค่าของสารสกัดจากพืชได้
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา | |
|||||||
|