สารเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สดประเภทสารละลายอิมัลชันของไขสกัดจากใบกะหล่ำปลี
นักวิจัย  
ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ
นางสาว นิตยา ภูงาม
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันการพัฒนาสารเคลือบผิวผักและผลไม้ที่ได้จากวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติได้รับความสนใจกันมากขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัยสามารถรับประทานได้ (edible surface coating or edible films) ทางผู้วิจัยมีแนวคิดในการนำเศษวัตถุดิบเหลือทิ้งคือใบห่อด้านนอกของกะหล่ำปลีที่เกิดจากการช้ำ แตกหักมาพัฒนาสารเคลือบผิวผักและผลไม้เพื่อทดแทนการนำเข้าสารเคลือบผิวจากต่างประเทศ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- เป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรและใช้วัตถุดิบท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- พัฒนาสารเคลือบผิวจากธรรมชาติเพื่อนำมาทดแทนการนำเข้าสารเคลือบผิวจากต่างประเทศ
- ช่วยเหลือด้านรายได้ให้กับทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของกะหล่ำปลีได้
- ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของผักและผลไม้ภายหลังการเก็บเกี่ยวได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณณัฐนันท์ นันทะแสน
โทรศัพท์มือถือ 09 0287 5363
Email nattanan.n@ubu.ac.th
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สดประเภทสารละลายอิมัลชันของไขสกัดจากใบกะหล่ำปลี"