วิธีการสังเคราะห์อนุภาคนาโนของโลหะด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารสกัดจากเปลือกผลไม้
นักวิจัย  
ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์
นางสาวเฟื่องฟ้ากาญจน์ ชูตระกูลวงศ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1701004387 ยื่นคำขอวันที่ 4 สิงหาคม 2560
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูกพืชหลายล้านไร่ ส่งผลให้มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เปลือกผลไม้จากภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมอาหาร โดยพบว่าหลายปีที่ผ่านมามีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในปริมาณมาก ดังนั้นหากสามารถนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นอกจากจะเป็นการลดขยะมูลฝอย ยังเป็นการกำจัดของเสียไปในตัวโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการศึกษาพบว่า Ag+ สามารถยับยั้งการจําลองตัวเองของ DNA ของแบคทีเรีย และยับยั้งการทํางานของ metabolic enzyme โดยเฉพาะ AgNPs ที่มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ต่ำ ทําให้มีการนํา AgNPs มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ ปัจจุบันแนวคิดเรื่องเคมีสีเขียว เข้ามามีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นแนวคิดในกระบวนการออกแบบและสังเคราะห์วัสดุหรือสารเคมี โดยการลด ละ หรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ ลดการปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สามารถนำวิทยาศาสตร์พื้นฐานมาประยุกต์ใช้ในการสร้างวิธีการใหม่สำหรับสังเคราะห์ AgNPsโดยใช้สารจากธรรมชาติไม่ใช้สารเคมีรุนแรงหรือสารเคมีที่เป็นพิษเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาประยุกต์ใช้ในการสังเคราะห์AgNPs เพื่อใช้เป็นสารป้องกันการติดเชื้อAgNPsสังเคราะห์ขึ้นจากของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมต่างๆที่มีเปลือกผลไม้เป็นขยะ แทนการใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรม ลดปริมาณขยะมูลฝอย ลดค่าcarbon footprint และปริมาณฝุ่นละอองขนาดอนุภาคเล็กๆที่เกิดจากการเผากำจัดขยะเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้จากเทคโนโลยีสามารถสังเคราะห์ AgNPsให้มีขนาดต่างๆตามที่ต้องการได้ สามารถสังเคราะห์AgNPsที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียได้สูงถึง91%และสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคุณสมบัติการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ให้กับวัสดุหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผสมเพื่อขึ้นรูปหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์เช่นสิ่งทอ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และแผ่นกรองอากาศ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.อมรรัตน์ วัฒนล้ำเลิศ , ดร.จีสุดา เกตุกราย , นางสาวดาริกา เอี่ยมจรูญ
โทรศัพท์ 02-470 9626 ต่อ -
โทรศัพท์มือถือ -
Email amornrat.wat@kmutt.ac.th, jeesuda.kea@kmutt.ac.th, darika.aie@kmutt.ac.th
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี (TTO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วิธีการสังเคราะห์อนุภาคนาโนของโลหะด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารสกัดจากเปลือกผลไม้"