![]() |
||||||||
นักวิจัย
ดร.ปราการเกียรติ ยังคง
นายวัชระพงษ์ ปิงเมือง นายชวกร ศรีเงินยวง สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000663 ยื่นคำขอวันที่ 16 มีนาคม 2561
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การหกล้มและตกเตียงเป็นอุบัติการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาใหญ่ในกลุ่มผู้ที่เกิดอุบัติการณ์ต่างๆ ในขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล การหกล้มและตกเตียงส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บเฉพาะบุคคล ที่เป็นได้ตั้งแต่การได้รับความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มและเกิดภาวะแทรกซ้อน ในปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในสังคมไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องพักนอกโรงพยาบาลแล้วไม่มีผู้ดูแล การใช้ระบบกล้องเฝ้าดูและ/หรือติดตามผู้สูงอายุในทางปฏิบัติทำได้ยาก เพราะผู้ปฏิบัติงานจะต้องเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพเหล่านี้มีราคาแพง ระบบการเฝ้าระวังหรือแจ้งเตือนจึงถูกพัฒนามาเป็นลำดับ เช่น การใช้เซ็นเซอร์อินฟราเรด เซ็นเซอร์วัดแรง เซ็นเซอร์อัลตราซาวน์ ส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ทีมนักวิจัยจึงได้พัฒนาระบบป้องกันการตกเตียง ซึ่งเป็นระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการตกเตียงสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่บนเตียงทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานหลักเป็นการแจ้งเตือนด้วยเสียงเมื่อผู้ป่วยมีท่าทางหรือลักษณะการเคลื่อนไหวที่เสี่ยงต่อการตกเตียง
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ติดตั้งและใช้งานง่าย / แจ้งเตือนผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่พยาบาลได้ในเวลาเดียวกัน / เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยได้ในระยะไกล
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี (TTO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
|||||||
|