สเปรย์ไล่ยุงไมโครอิมัลชั่นจากน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพรไทย
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ศรีสุดา หาญภาคภูมิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ดร.ภานุกิจ กันหาจันทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นายพายุ ภักดีนวน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผศ.ดร.จิราภรณ์ ทองตัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ผศ.ดร.สุขุมาภรณ์ กระจ่างสังข์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นายมณฑล สุวรรณประภา ศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ยุงนับเป็นพาหะสำคัญของการเกิดโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก เท้าช้าง ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น ดังนั้น “ยุง” จึงนับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประชากรโลก โดยเฉพาะประชากรในประเทศเขตร้อน ยากันยุงที่ขายในท้องตลาดมีการผสมสารสังเคราะห์ที่เรียกว่า DEET หรือ IR3535 หรือ Icaridin ที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับสตรีมีครรภ์และเด็กทารก เพราะสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรืออาจจะเกิดอาการแพ้ อาการทางสมอง ชักและเสียชีวิตได้ ดังนั้นการใช้สารที่มีฤทธิ์ไล่ยุงจากสมุนไพรแทนการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจึงอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน นอกจากนี้ยากันยุงที่ขายอยู่ในท้องตลาดจะผสมน้ำมันกับน้ำโดยใช้แอลกอฮอล์ในการละลายซึ่งอาจเกิดการระคายเคือง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากสมุนไพรไทยโดยใช้เทคโนโลยีไมโครอิมัลชันมาเพื่อทำให้สารที่มีฤทธิ์ไล่ยุงจากสมุนไพรมีฤทธิ์ไล่ยุงได้นานขึ้น มีระยะเวลาออกฤทธิ์นานกว่าผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอิมัลชันธรรมดา มีความเสถียรและความคงตัวของสูตรผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมการปลดปล่อยน้ำมันจากสารสกัดสมุนไพรได้อีกด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
จุดเด่นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์กันยุงจากสมุนไพรไทยโดยนำเทคโนโลยีไมโครอิมัลชันมาช่วยในการทำผลิตภัณฑ์กันยุง เนื่องจากจะทำให้สารที่มีฤทธิ์ไล่ยุงจากสมุนไพรสามารถออกฤทธิ์ไล่ยุงได้นานขึ้น มีระยะเวลาออกฤทธิ์นานกว่าผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอิมัลชันธรรมดา มีความเสถียรและความคงตัวของสูตรผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมการปลดปล่อยน้ำมันจากสารสกัดสมุนไพรได้อีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.จิระ จิตสุภา
โทรศัพท์ 0-2244-5280-3
โทรศัพท์มือถือ 0-81300-2594
Email jirajitsupa@gmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สเปรย์ไล่ยุงไมโครอิมัลชั่นจากน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพรไทย"