ชุดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากการอบร่ำ
นักวิจัย  
อาจารย์จรัสฟ้า โหมดสุวรรณ
หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การทำเครื่องหอมไทยเป็นภูมิปัญญาหนึ่งของรากเหง้าคนไทยในอดีตที่แท้จริงแล้วอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ผสมผสานร่วมกับวัฒนธรรมประเพณีของไทย ไม่เพียงแต่เครื่องประทินผิวของผู้หญิงไทยโบราณ อย่างเช่น แป้งร่ำ น้ำอบ น้ำปรุง ซึ่งถือว่าเป็นน้ำหอมไทย ยังรวมไปถึงอาหารการกินก็นำเครื่องหอมไทยมาใช้ในกระบวนการผลิตด้วย เครื่องหอมหลายชนิดของไทยให้กลิ่นที่หอมชื่นใจ อีกทั้งยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรใช้ผสมในยารักษาสุขภาพอีกด้วย กรรมวิธีในการผลิตเครื่องหอมถูกบอกเล่าปากต่อปากจนนำมาเขียนไว้เป็นตำราจากผู้ที่มีความรู้และความชำนาญจากประสบการณ์ ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องหอมไทยคือการใช้วัตถุดิบที่เป็นของสดในท้องถิ่นและสมุนไพรไทยเป็นหลัก กลิ่นที่ได้จึงมีกลิ่นดี มีกลิ่นที่หอมละมุนละไมซึ่งเป็นที่น่าพอใจกับผู้ใช้ส่วนใหญ่ ภูมิปัญญาของไทยนี้จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์หรือนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประทินผิวของไทยให้ดีขึ้นและยังคงเอกลักษณ์ไว้ซึ่งความเป็นไทย
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการคัดเลือกสารพอลิเมอร์หรือสารก่อเจลทางเครื่องสำอาง (Thickening agent) ที่อาจมีส่วนช่วยในการกักเก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การใช้กระบวนการอบร่ำจากกรรมวิธีโดยอ้างอิงตามแบบภูมิปัญญาไทยเพื่อมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำให้เกิดกลิ่นทางเครื่องสำอาง ทดแทนการใช้น้ำหอมเพื่อการเสี่ยงกับผู้บริโภคที่จะมีโอกาสแพ้น้ำหอมได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.จิระ จิตสุภา
โทรศัพท์ 0-2244-5280-3
โทรศัพท์มือถือ 0-81300-2594
Email jirajitsupa@gmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากการอบร่ำ"