ผ้าฝ้ายทนไฟ
นักวิจัย  
ดร.มาโนช นาคสาทา
ดร.วิมล นาคสาทา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1803000237
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ผ้าฝ้ายเป็นสิ่งทอเส้นใยธรรมชาติที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เป็นสินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคเหนือ การพัฒนาผ้าฝ้ายให้มีคุณสมบัติทนไฟโดยวิธีการอย่างง่าย เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการสิ่งทอ ในการนำไปเป็นจุดขายและเพิ่มมูลค่าของผ้าฝ้าย

นวัตกรรมผ้าฝ้ายทนไฟนี้ ถูกพัฒนากรรมวิธีการผลิต ให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตได้โดยง่าย ใช้วัตถุดิบที่หาได้ไม่ยากและใช้เครื่องมือน้อย เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์และของใช้ต่างๆ ในบ้านเรือนที่ทำจากผ้าฝ้าย เช่น ผ้าม่าน พรม ปลอกหมอน ผ้าหุ้มโซฟา ให้มีสมบัติทนไฟไม่ลุกติดไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ลดความรุนแรงและอัตราการเกิดอัคคีภัย รวมถึงสามารถประยุกต์นำไปใช้กับช่างผู้รับเหมา ในการรับพ่นเคลือบผ้าฝ้ายที่ติดตั้งประดับตกแต่งในที่อยู่อาศัย อาคารห้างร้าน เพื่อเพิ่มสมบัติทนไฟให้กับผ้า

นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตเป็นชุดทนไฟสำหรับพนักงานดับเพลิงหรือผู้ที่ต้องทำงานใกล้แหล่งความร้อน ให้สามารถจัดหาชุดทนไฟได้ในราคาถูกแทนการใช้ชุดทนไฟราคาแพงจากต่างประเทศ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการผลิตผ้าฝ้ายทนไฟที่พัฒนาขึ้น ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน ATSM D 777-97 โดยชิ้นงานทดสอบจะไม่ลามไฟและมีความยาวของถ่านหลังการเผาประมาณ 7 เซนติเมตร ส่วนชิ้นส่วนที่มีคุณสมบัติกันน้ำด้วยนั้นสามารถต้านทานการซึมผ่านของน้ำได้นานถึง 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ผ้าผ้ายที่ถูกปรับปรุงคุณสมบัติจะมีผิวสัมผัสที่แข็งกระด้างขึ้นเมื่อเทียบกับผ้าฝ้ายปกติ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวณัฐพร สาครวาสี
โทรศัพท์มือถือ 0862245466
Email licensing@step.cmu.ac.th
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU STeP)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผ้าฝ้ายทนไฟ"