![]() |
||||||
นักวิจัย
ผศ.ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000366 ยื่นคำขอวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การส่งยาผ่านชั้นผิวหนังมนุษย์ด้วยเข็มฉีดยาทั่วไปอาจทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บ จึงได้มีการพัฒนาเข็มฉีดยาขนาดไมครอน (microneedle) เพื่อลดความเจ็บปวดในการฉีดยา เนื่องจากมีความปลอดภัย และไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีด ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเข็มฉีดยาขนาดไมครอนประเภทละลายได้จากวัสดุต่างๆ ซึ่งวัสดุบางประเภทมีต้นทุนสูงและละลายช้า จึงเป็นข้อจำกัดในการใช้งาน ส่วนวัสดุประเภทน้ำตาลนั้นละลายได้เร็ว มีความเข้ากับได้กับร่างกายได้ดี อย่างไรก็ตามการขึ้นรูปด้วยวิธีหลอมน้ำตาลใส่แม่พิมพ์ต้องใช้อุณหภูมิสูง จึงอาจทำให้สารสำคัญที่ต้องการนำส่งเสื่อมสภาพได้
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เข็มฉีดยาขนาดไมครอนที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ สร้างจากสารละลายน้ำตาลมอลโตส สามารถขึ้นรูปได้ที่อุณหภูมิต่ำ มีลักษณะของเข็มเป็นรูปทรงกรวยหรือปิรามิดฐานหลายเหลี่ยม มีความสูงของตัวเข็มตั้งแต่ 100 ไมครอน ถึง 3,000 ไมครอน สามารถเลือกประเภทของสารที่ต้องการนำส่งสารสำคัญอย่าง ยา วัคซีน ฮอร์โมน หรือสมุนไพรได้ โดยเตรียมพร้อมไปกับการขึ้นรูปเข็มหรือเคลือบบนตัวเข็ม
จุดเด่นของเทคโนโลยี - สามารถใช้นำส่งยา วัคซีน ฮอร์โมน DNA หรือ สารบำรุงผิว - ขึ้นรูปได้ที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้สารสำคัญไม่เสื่อมสภาพ - เข็มละลายได้รวดเร็ว - ต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
|||||
|