![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์ และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11461
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
โรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยอาการระยะเริ่มต้นคือ สูญเสียความทรงจำ หลงลืม เครียด หงุดหงิดง่าย สูญเสียความสามารถด้านการสื่อสาร ไม่สามารถเข้าสังคมและประมวลผลความคิดได้ ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้ จำเป็นต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใกล้ชิด และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคอัลไซเมอร์อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อะไมลอยด์บีตา ซึ่งทำหน้าที่ในการเติบโตและระบบซ่อมแซมของเซลล์ประสาทที่ได้รับความเสียหายโดยเอนไซม์บีตาซีครีเทส (β-secretase) และแกมมาซีครีเทส (-secretase) เนื่องด้วยคุณสมบัติทางเคมีของเปปไทด์อะไมลอยด์บีตาจะเกิดการรวมตัวจับกันแน่นสะสมเป็นก้อน เรียกว่า พลัค (plaques) ทำให้เซลล์สมองสูญเสียการทำงานและมีการตายเป็นบริเวณกว้างจนสมองไม่สามารถประมวลผลหรือทำงานได้อย่าปกติ เปปไทด์อะไมลอยด์บีตานอกจากจะสะสมภายในสมองแล้วยังถูกปลดปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดและถูกกำจัดออกจากร่างกายไปพร้อมกับปัสสาวะ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับตรวจวิเคราะห์ คาดคะเนความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณอะไมลอยด์บีตา มีหลายวิธี เช่น เทคนิคอีไลซา (ELISA; enzyme-linkd immunosorbent assay) แต่วิธีดังกล่าวต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาแพง มีใช้เฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆเท่านั้น และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผล ต่อมาได้มีการพัฒนาชุดตรวจชนิดแลทเทอรอลโฟลว์ (Lateral flow biosensor) ที่ประชาชนสามารถตรวจได้เองแบบที่ตรวจการตั้งครรภ์ แต่อุปกรณ์ทดสอบดังกล่าวยังไม่สามารถตรวจวิเคราะห์อะไมลอยด์บีตา เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในกระแสเลือดได้
ผู้ประดิษฐ์จึงได้ประดิษฐ์ ชุดทดสอบอะไมลอยด์บีตา (Amyloid beta test strip) เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งประกอบด้วยแผ่นทดสอบอะไมลอยด์บีตา (Amyloid beta test strip) และชุดน้ำยา ซึ่งสามารถวิเคราะห์ปริมาณตัวอย่างอะไมลอยด์บีตาที่สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|||||||
|