ผลิตภัณฑ์ของเหลวฆ่าเชื้อจากน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท เคบีหนึ่ง (Streptomyces sp. KB1)
นักวิจัย  
รศ.ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล และ ดร.กิจติศักดิ์ ชววิสิฐ
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งการศึกษานำเอาของเหลวส่วนเหลือจากการทำบริสุทธิ์สารที่ได้มาจาก กระบวนการทำบริสุทธิ์สารจากน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท เคบีหนึ่ง (Streptomyces KB1) มาใช้กำจัดเชื้อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ในการทำลายจุลินทรีย์ต่างๆ กล่าวคือแบคทีเรียสร้างสปอร์ ได้แก่ บาซิลลัส ซับทิลลิส (Bacillus subtilis) ATCC 6633 แบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่ สแตปฟิลโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) TISTR 517 แบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ เอชเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) TISTR 887 ซูโดโมแนส แอรุจิโนซ่า (Pseudomonas aeruginosa) TISTR 1467 และ เคล็บเซลล่า นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) 342 ที่ดื้อยาโดยผลิตเอนไซม์เบต้าแลคแตมเมสฤทธิ์ขยาย (Extend-spectrum beta lactamase: ESBL) และยีสต์ ได้แก่ แคนดิดา อัลบิแคน (Candida albicans) TISTR 5779 โดยพบว่าแบคทีเรียแกรมบวก และแบคทีเรียแกรมลบ E. coli TISTR887 ถูกทำลายได้ด้วยของเหลวส่วนเหลือจากการทำบริสุทธิ์ดังกล่าว ได้ใกล้เคียงกับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ยกเว้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การประดิษฐ์นี้เป็นการเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อรูปแบบของเหลวที่ได้มาจากของเหลวส่วนเหลือจากกระบวนการทำบริสุทธิ์สารจากน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท เคบีหนึ่ง (Streptomyces KB1) เพราะในของเหลวส่วนเหลือยังคงมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดอื่นๆ หลงเหลืออยู่ เช่น โปรตีนชีวภาพหรือที่รู้จักกันในชื่อเรียกว่าแบคทีริโอซิน (Bacteriocins) เป็นต้น โดยของเหลวส่วนเหลือจากกระบวนการทำบริสุทธิ์สารก็ยังคงแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อเมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธีซึมผ่านของสารเข้าสู่เนื้อวุ้น (agar well diffusion)/หยดสารให้ซึมผ่านลงเนื้อวุ้น (agar drop plate) และไม่แสดงความระคายเคืองต่อผู้สัมผัส อีกทั้งช่วยลดการทิ้งของเสีย (zero waste) จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการสู่สิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวแสงนภา ตันสกุล
โทรศัพท์ 075673000 ต่อ 2927
โทรศัพท์มือถือ 0884490323
Email tsangnap@wu.ac.th, tsangnap21@gmail.com
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยสลัยวลัยลักษณ์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์ของเหลวฆ่าเชื้อจากน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท เคบีหนึ่ง (Streptomyces sp. KB1)"