การผลิตโฟมโลหะแบบเซลล์เปิดที่มีต้นทุนต่ำ และควบคุมขนาดโพรงได้
นักวิจัย  
ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์ และนายไพบูลย์ วัฒนพรภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการการขึ้นรูปโลหะใกล้ร่างสุดท้าย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1201005748 ยื่นคำขอวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401005691 ยื่นคำขอวันที่ 26 กันยายน 2557
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401005912 ยื่นคำขอวันที่ 30 กันยายน 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันโฟมอะลูมิเนียมมีขายและใช้งานในต่างประเทศ แต่ยังคงมีปริมาณการใช้งานที่ไม่มาก สาเหตุหลักประการหนึ่งที่จำกัดการใช้งานโฟมอะลูมิเนียม คือราคาขายที่สูง โดยราคาขายที่แตกต่างกันของโฟมอะลูมิเนียมต่างๆ สะท้อนถึงต้นทุนวัตถุดิบและการผลิต ซึ่งวัตถุดิบที่มีราคาแพงสำหรับการผลิตโฟมอะลูมิเนียม ได้แก่ สารก่อฟอง สารเพิ่มความหนืด และผงอะลูมิเนียม ส่วนขั้นตอนการผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงานมากซึ่งทำให้การผลิตโฟมอะลูมิเนียมมีต้นทุนการผลิตสูง ได้แก่ การอบสารก่อฟองที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานเพื่อหน่วงการสลายตัวเป็นก๊าซของสารก่อฟอง เป็นต้น ดังนั้นการผลิตโฟมอะลูมิเนียมโดยตรงจากน้ำโลหะแทนการใช้ผงอะลูมิเนียม และการใช้สารที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าโลหะอะลูมิเนียมที่สามารถแยกออกด้วยการละลายในตัวทำละลายเป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดโพรงแทนการใช้สารก่อฟองจะสามารถช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบและการผลิตของโฟมอะลูมิเนียม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
โฟมโลหะที่ได้มีโครงสร้างโพรงเป็นแบบเปิด (Open-cell) ซึ่งผู้ผลิตสามารถควบคุม และสามารถผลิตให้มีรูปร่างตามต้องการ ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตที่ใช้สารก่อฟอง สารเพิ่มความหนืด และผงอะลูมิเนียมเป็นวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์โฟมโลหะที่ได้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ดูดซับเสียง (Sound absorption) รับแรงกระแทก (Energy absorption) น้ำหนักเบา (Lightweight) ถ่ายเทความร้อน (Thermal management) และตกแต่ง (Decoration)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์ 025647000 ต่อ 1617
Email ipb@nstda.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การผลิตโฟมโลหะแบบเซลล์เปิดที่มีต้นทุนต่ำ และควบคุมขนาดโพรงได้"