![]() |
|||||
นักวิจัย
นายนุกูล แสงพันธุ์
นางสาวเอื้ออารี สุขสมนิตย์ นางสาวพิศมัย เฉลยศักดิ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี |
|||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401001994 ยื่นคำขอวันที่ 11 เมษายน 2557
|
|||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไรแดงเป็นอาหารตามธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน การจับไรแดงจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้มีการคิดค้นวิธีเพาะเลี้ยงไรแดงเพื่อส่งเสริมเป็นอาชีพและเป็นการขยายฐานการผลิตไรแดงให้มีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่การเพาะเลี้ยงไรแดงก็มักประสบปัญหาเรื่องผลผลิตที่ได้ไม่มีความแน่นอนเนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการผลิตไรแดง อาทิ อาหารสำหรับเลี้ยงไรแดง สภาพดินฟ้าอากาศ การจัดหาพันธุ์ไรแดง เป็นต้น อีกทั้งในบางช่วงฤดูกาลก็ไม่สามารถผลิตไรแดงได้เพราะขาดแคลนพันธุ์ไรแดงคุณภาพดีที่จะนำมาใช้เป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเลี้ยง
|
|||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• กรรมวิธีนี้ทำให้ไรแดงผลิตไข่ได้จำนวนเพิ่มมากกว่าการเพาะเลี้ยงในธรรมชาติ และเก็บเกี่ยวผลผลิตไข่ได้อย่างต่อเนื่อง
• กรรมวิธีดังกล่าวสามารถใช้กับไรแดงในประเทศไทยและประเทศอื่นที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียง |
|||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
|||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
|||||
![]() |
|||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
|||||
สนใจสอบถามข้อมูล
|
|||||
|