![]() |
||||||
นักวิจัย
ดร.รัชนี นามมาตย์ และคณะ
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1403000880 ยื่นคำขอวันที่ 1 สิงหาคม 2557
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นักวิจัยได้ศึกษาวิจัยสรรพคุณของพืชสมุนไพรไทยหลายร้อยชนิด พร้อมทั้งคัดเลือกสมุนไพรชนิดที่มีความเหมาะสมและประสิทธิภาพสูง แต่ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาสมุนไพร” ออกสู่ตลาด โดยได้พัฒนาคิดค้นสูตรตำรับชาสมุนไพรและปรับปรุงกระบวนการผลิตจนได้ชาเบลนด์รูปแบบใหม่ที่มีกลิ่นและรสชาติดีเป็นเอกลักษณ์ สวยทั้งใบแห้งและน้ำชา มีการทดสอบตลาดจนได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญชาจากสมุนไพรไทยนี้มีคุณประโยชน์จากสารออกฤทธิ์สำคัญในสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยมีผลทดสอบยืนยันจากงานวิจัยถึงสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาใช้อย่างชัดเจน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ชาที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรไทย ได้แก่ ขลู่ ใบเตยและดอกงิ้ว ซึ่งผ่านกรรมวิธีการคั่วและอบแห้งจนได้ส่วนผสมที่เหมาะสม เป็นการรวมสรรพคุณของสมุนไพรเข้าด้วยกันจนได้เป็นชาที่มีกลิ่นหอมสดชื่น พร้อมกับคุณประโยชน์ของสมุนไพร 3 ชนิด โดยขลู่ จะช่วยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ขับนิ่ว ใบเตย ช่วยในการบำรุงหัวใจ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้ชุ่มคอ มีเกลือแร่ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ดับพิษได้ แก้อ่อนเพลีย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และดอกงิ้ว ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาแก้พิษไข้ได้ดีมาก ช่วยแก้กระหายน้ำ แก้อาการท้องเสีย บรรเทาอาการท้องเดิน แก้บิด และช่วยขับปัสสาวะได้ดี
|
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
|||||
|