![]() |
|||
นักวิจัย
นางสาวภารดี ปรีชาวิทยากุล ศูนย์สารสนเทศมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
ดร.วิสุทธิ์ แก้วสกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
|||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1703000673
|
|||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การใช้นวัตกรรมเต้านมเทียมแบบเสมือนจริง ที่พัฒนาจากพอลิเมอร์เจลและยางพาราโปรตีนต่ำเปรียบเทียบกับวิธีการเดิมที่ผู้ป่วยใช้ โดยการพัฒนาเต้านมเทียมเสมือนจริงให้มีความนิ่มใกล้เคียงกับเต้านมธรรมชาติ มีน้ำหนักเหมาะสมและราคาที่เข้าถึงได้สำหรับคนไทยและคนเอเชีย จะเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ชนิดใหม่ที่ใช้เป็นอวัยวะเทียมทดแทนให้กับผู้ป่วย สามารถตอบโจทย์ปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมคนไทยหรือคนเอเชีย เพื่อให้ได้เต้านมเทียมที่มีน้ำหนักเหมาะสมและราคาที่เข้าถึงได้ อันจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
เพื่อเป็นการพัฒนาเต้านมเทียมให้เหมือนเต้านมจริง ในราคาถูก ปลอดภัยและคงทน เพื่อทดแทนเต้านมให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถูกผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด และสามารถเพิ่มมูลค่าและเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศไทยให้สูงขึ้น |
|||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. มีผิวสัมผัสใก้ลเคียงกับเนื้อเต้านมจริง
2. น้ำหนักของเต้านมไม่มากหรือน้อยไปจนทำให้ไม่กระชับ และใส่สะดวกไม่หลุดง่าย 3. คงทน ดูแลรักษาง่าย 4. ราคาไม่สูง 5. ผลิตมาจากยางพารา ลดการระคายเคือง |
|||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
|||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
|||
![]() |
|||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
|||
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
||
|