ระบบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์
นักวิจัย  
รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1503001450 เรื่อง ระบบการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารเหลวโดยสนามไฟฟ้าพัลส์ ยื่นคำขอวันที่ 17 กรกฎาคม 2558
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การยับยั้งเชื้อในอาหารเหลวหรือเครื่องดื่มด้วยความร้อนเพื่อทำลายเอนไซม์ และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ได้นานขึ้น ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) และการสเตอริไรซ์ (Sterilization) โดยการพาสเจอร์ไรซ์ เป็นการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิระว่าง 60-80 องศาเซลเซียส ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์บางส่วนและยับยั้งการทำงานที่ไม่พึงประสงค์ของเอนไซม์ ซึ่งสามารถรักษาคุณลักษณะและคุณค่าทางสารอาหารไว้ได้ ส่วนการสเตอริไรซ์เป็นการยับยั้งเชื้อโดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ในเวลาที่เหมาะสม อาหารที่ทำการสเตอริไรซ์แล้วสามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าเป็นระบบที่ใช้ความร้อนเป็นตัวกลางในการฆ่าเชื้อ หากใช้ความร้อนในกระบวนการสูงเกินไป ความร้อนจะไปทำลายวิตามินหรือคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆมากมาย ทั้งในส่วนการเก็บ การลำเลียงและการฆ่าเชื้ออาหาร ทั้งยังมีขั้นตอนการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน เป็นเหตุให้สิ้นเปลืองเวลาที่ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อและพลังงานที่ใช้ในการทำงานของระบบ รวมทั้งอุปกรณ์บางชิ้นส่วนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อใช้ระบบการฆ่าเชื้อมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการนำเข้าของอุปกรณ์แต่ละชนิดต้องมีราคาสู ตลอดจนมีความยุ่งยากในเรื่องการบำรุงรักษา ดังนั้น ระบบการพาสเจอร์ไรซ์แบบใช้พลังงานต่ำด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์ (pulsed electric field หรือ PEF) จึงเป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขปัญหาการใช้พลังงานและความซับซ้อนของระบบดังกล่าวได้ รวมถึงการประหยัดเวลาในการฆ่าเชื้อ ต้นทุนการผลิตต่ำ และยังสามารถรักษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้จะยังคงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารใกล้เคียงกับอาหารสด สี และกลิ่นของอาหารยังคงเดิม มีอายุยาวนานเทียบเท่ากับการถนอมอาหารที่นิยมกันทั่วไป ทั้งสามารถประยุกต์ใช้กับอาหารเหลวได้หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำผลไม้ที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลจากธรรมชาติผสมอยู่
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณสโรชา เพ็งศรี
โทรศัพท์ 02 5647000 ต่อ 1311
Email sarocha.phengsri@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์"