![]() |
||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.ศศิธร พุมดวง และคณะวิจัย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7751
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในระยะที่ 2 ของการคลอด (ระยะเบ่งคลอด) มารดามีความปวดมาก บางรายปวดเหมือนร่างกายแยกเป็นส่วนๆ และระยะเวลาในการคลอดใช้เวลานาน ดังนั้นการช่วยให้มารดาคลอดได้เร็วขึ้นจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการผลิตเตียงคลอดPSU (เตียงคลอด Prince of Songkla University)จึงมีความสำคัญเนื่องจากเป็นเตียงนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้มารดาสามารถเสมือนอยู่ในท่านั่งยองแต่มารดานอน ซึ่งเป็นท่าที่ยกศีรษะสูง 45-60 องศา ยกบริเวณเอวสูง 30-40 องศา ตามที่มารดารู้สึกสุขสบาย
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เตียงคลอด PSU เป็นเตียงคลอดนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้มารดาสามารถเสมือนอยู่ในท่านั่งยองแต่มารดานอน ซึ่งเป็นท่าที่ยกศีรษะสูง 45-60 องศา ยกบริเวณเอวสูง 30-40 องศา ตามที่มารดารู้สึกสุขสบายและมารดาสามารถวางเท้าที่ยันฝ่าเท้าได้ จึงทำให้ขาอยู่ในลักษณะเข่าชิดอก จากการที่อยู่ในท่าดังกล่าวศีรษะสูงทำให้เกิดการเคลื่อนต่ำของส่วนนำของทารกตามแรงโน้มถ่วงของโลก ส่วนการยกเอวและการนอนขาแยกเข่าชิดอกจากการยันของเท้าทำให้ช่องออกของเชิงกรานเปิดกว้างจึงทำให้มารดาคลอดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีบาร์โหนทำให้มีแรงในการเบ่งมากขึ้นด้วย
|
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
|||||
|