อุปกรณ์ช่วยฝึกการยืนสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการช้า (Standing frame)
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สุรพงษ์ ชาติพันธุ์ และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7107
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อุปกรณ์ฝึกการยืนสำหรับเด็กเล็กที่มีพัฒนาการช้า ปัจจุบันยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย มีการใช้ Tilt table เป็นอุปกรณ์ทดแทน แต่เนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับสรีระของเด็กไทย และไม่สามารถนำกลับมาฝึกพัฒนาการที่บ้านได้ จึงทำให้อุปกรณ์ของเรามีโอกาสในการเข้าสู้ตลาดทั้งโรงพยาบาล และผู้ปกครอง เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ และมีความโดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในต่างประเทศ คือ สามารถพับเก็บได้ เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะกับการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันที่มีการเดินทางด้วยรถยนต์ไปยังสถานที่ต่างๆ และยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในการเรียนรู้อีกด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุปกรณ์ฝึกการยืนสำหรับเด็กเล็กที่มีพัฒนาการช้า ประกอบด้วยตัวโครงที่เป็นส่วนฐานสำหรับการวางเท้ามีความกว้าง 60 เซนติเมตร และยาว 80 เซนติเมตร ส่วนโต๊ะใช้สำหรับวางมือและท่อนแขนซึ่งสามารถพับและปรับระดับความสูงต่ำได้ ส่วนพยุงลำตัวในการยืนมีลักษณะตั้งฉากกับฐานซึ่งสามารถพับให้อยู่ในระนาบเดียวกับฐานได้ และมีด้ามจับเพื่อใช้ในการเข็นเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ โดยส่วนต่างๆ ของตัวโครงของอุปกรณ์จะถูกประกอบจับยึดด้วยสกรูและน็อต ที่โครงส่วนฐานสำหรับการวางเท้าจะมีลูกล้อที่สามารถล็อคได้จำนวนสี่ล้อ และมีแถบรัดช่วงสะโพก หน้าอก และเข่าอยู่บริเวณส่วนพยุงลำตัวเพื่อพยุงให้ผู้ใช้อุปกรณ์สามารถยืนได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074-28-9321, 09-0970-7099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์ช่วยฝึกการยืนสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการช้า (Standing frame)"