ปุ๋ยไบโอกรีน (Bio Green Fetilizer)
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์
ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักจะประสบปัญหาสารกำจัดวัชพืชในการเกษตรกรรมตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารพาราควอท (Paraquat) หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า กรัมม็อกโซน (Gramoxone) พบว่า มีการตกค้างในพื้นที่มากที่สุด พาราควอทก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ โดยเกิดพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง การปล่อยให้พาราควอทสลายเองตามธรรมชาติ ต้องใช้ระยะเวลานานและมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายประการ ที่สำคัญ หากพาราควอทตกค้างสะสมอยู่ในดินเป็นเวลานาน จะทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนไป กลายเป็นดินเหนียวมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังลดลง ปุ๋ยไบโอกรีน ซึ่งมีปริมาณแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ ในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการกำจัดพาราควอทตกค้างในดิน ผสมกับอัตราส่วนของปุ๋ยที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้แก้ปัญหามลพิษจากพาราควอทที่ตกค้างในพื้นที่ และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ปุ๋ยไบโอกรีน มีส่วนผสมของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดพาราควอท สามารถย่อยสลายพาราควอทที่ตกค้างในดิน ให้ลดลงได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยลดปริมาณพาราควอทตกค้างในพื้นที่ แก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม นอกจากนี้ยังให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของมันสำปะหลัง จึงช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้สูงขึ้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทรศัพท์ 0 2244 5280-2
โทรศัพท์มือถือ 0 8130 02594
Email jirajitsupa@gmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ปุ๋ยไบโอกรีน (Bio Green Fetilizer)"