เฮมพ์กรีต (Hempcrete)
นักวิจัย  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ สินศิริ, นายพุทธิพัทธ์ ราชคำ

สำนักวิชาวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เฮมพ์หรือกัญชง (Hemp) เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว ชาวเขานิยมปลูกต้นกัญชงในทางภาคเหนือของประเทศไทย กัญชงเจริญเติบโตได้ง่าย มีความสูงถึง 4 เมตร ประโยชน์ของกัญชง คือ นิยมนำเส้นใยของต้นกัญชงมาทำเป็นเส้นใยทอผ้าซึ่งเส้นใยที่ได้มีความเหนียวนุ่ม น้ำหนักเบา มีสีออกขาวแกมน้ำตาล จัดได้ว่าเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพสูงมีความยืดหยุ่น แข็งแรงทนทาน ถ้าลอกเส้นใยออกจากลำต้นกัญชงหมดแล้ว จะเหลือในส่วนของแกนลำตัน (Hurds Hemp) หรือเปลือกแกนลำต้น (Shives Hemp) เฮมพ์กรีต (Hempcret) และผสมร่วมสารซีเมนต์กับมวลรวมและน้ำ จะกลายเป็น เฮมพ์คอนกรีต (Hemp Concrete) ใช้ทำเป็นวัสดุก่อผนัง วัสดุเทพื้น วัสดุโครงสร้าง หรือแม้แต่งานฉนวน ที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่มาก อิฐเฮมพ์กรีต มีคุณสมบัติ น้ำหนักเบา ความหนาแน่นต่ำ เป็นฉนวน ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้แปรสภาพเป็นออกซิเจน (H2O) สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 50 % ของปริมาตร [2] และมีความทนไฟได้เป็นระยะเวลานาน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การนำเฮมพ์ไปใช้ประโยชน์
1. มีการนำเส้นใยเฮมพ์มาทำผลิตภัณฑ์มากมายนอกเหนือจากการทำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย ได้แก่ วัสดุเนื้อไม้บด กระดาษ อุตสาหกรรมยานยนต์ วัสดุธรรมชาติแทนพลาสติก เส้นใยเฮมพ์มีลักษณะเฉพาะ คือมีความพรุนตามธรรมชาติ เมื่อส่องด้วยกล้องขยายพิเศษ พบว่า โครงสร้างภายในไม่มีลักษณะท่อยาว แต่ค่อนข้างจะเต็มไปด้วยรูพรุน ทำให้เฮมพ์มีพื้นผิวที่สามารถ ดูดซับน้ำได้มาก มีค่าความเป็นฉนวนอยู่ระหว่าง 0.0393 – 0.0486 W.m/K และมีค่าความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 40.3 – 77.9 kg/m3
2. แกนเฮมพ์ แกนของเฮมพ์มีสีขาวอมน้ำตาล มีน้ำหนักเบา ไม่มีฝุ่น มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำ หรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่างๆ อาทิ ถ่านไม้, Ethanol, Methanol หรือ Alcohol นอกจากนี้ แกนเฮมพ์ถูกนำไปใช้งานก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ในรูปแบบของการนำแกนเฮมพ์ที่บดแล้วไปผสมกับปูนปาสเตอร์หรือคอนกรีตเพื่อผลิตเป็นเฮมพ์กรีต หรือใช้ในการผสมเพื่อก่อผนัง-กำแพงที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่มาก มีค่าความเป็นฉนวนอยู่ระหว่าง 0.033 – 0.094 W.m/K และมีค่าความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 5 – 100 kg/m3
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวบุปผาชาติ กันสา
โทรศัพท์ 044-224825
Email buppha_chat@g.sut.ac.th
สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เฮมพ์กรีต (Hempcrete)"