เฮมพ์คอนกรีต (Hemp Concrete)
นักวิจัย  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ สินศิริ, นายศักดิ์สิทธิ์ พันทวี

สำนักวิชาวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เฮมพ์ (Hemp) หรือ “กัญชง” มีลักษณะใบและลำต้นใกล้เคียงกับกัญชามาก (ภาพที่ 1) ทำให้การแยกแยะด้วยสายตาต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ ทางพฤกษศาสตร์ เฮมพ์ มีชื่อเรียกว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa ส่วนกัญชา (Marijuana) มีชื่อว่า Cannabis sativa L. subsp. Indica พืชทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบของสารกลุ่ม cannabinoids ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ได้แก่ Tetrahydro-cannabinol (THC) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้มีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะ และยังมีสารCannabidiol (CBD) ออกฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย (anxiety effect) ในกัญชามีสาร THC ประมาณ 5 ถึง 15% และมีปริมาณ THC สูงกว่า CBD ในขณะที่เฮมพ์มีปริมาณ THC เพียงประมาณ
0 ถึง 1.0% และมีสัดส่วน CBD:THC มากกว่า 2:1 ในปัจจุบันมีการปลูกเฮมพ์เพื่อใช้งานอุตสาหกรรมต่างๆ ในหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน และหลายประเทศในทวีปยุโรป (รัสเซีย ฝรั่งเศส ยูเครน อังกฤษ เยอรมัน โปแลนด์ และ ฟินแลนด์) รวมทั้งประเทศแคนาดา เป็นต้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การใช้แกนเฮมพ์ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยอลูมิเนียมซัลเฟต Al2(SO4)3 และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2 แทนมวลรวมหยาบในส่วนผสมเฮมพ์คอนกรีตส่งผลให้ค่ากำลังอัดมากกว่าเฮมพ์คอนกรีตที่ใช้แกนเฮมพ์ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพถึง 4 เท่า แต่การใช้ปริมาณ Al2(SO4)3 และ Ca(OH)2 ในปริมาณที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อกำลังอัดของเฮมพ์คอนกรีตไม่มากนักเห็นได้ชัดว่าแกนเฮมพ์ที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพเกิดการหน่วงการก่อตัวของคอนกรีต
การใช้ Al2(SO4)3 ในการปรับปรุงคุณภาพช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้านกำลังอัดของวัสดุคอมโพสิตให้ดีขึ้น และปริมาณที่เหมาะสมของ Al2(SO4)3 ยังช่วยปรับปรุงระยะเวลาการก่อตัวและการแข็งตัวให้ดีขึ้น
การปรับปรุงคุณภาพแกนเฮมพ์ Al2(SO4)3 ส่งผลให้เกิดการสร้างผลึกของ ettringite ขึ้นได้ทั้งในไซเลมเรย์และบนผนังของเวสเซลของแกนเฮมพ์ ซึ่งช่วยเติมเต็มช่องว่างในโครงสร้างที่เป็นรูพรุนของแกนเฮมพ์ จึงส่งผลให้กำลังอัดเพิ่มขึ้น ส่วนการใช้ Ca(OH)2 ในปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดการหน่วงการก่อตัว
การใช้แกนเฮมพ์แทนมวลรวมหยาบในส่วนผสมคอนกรีต ส่งผลให้หน่วยน้ำหนักของคอนกรีตลดลง เนื่องจากแกนเฮมพ์มีน้ำหนักเบาและมีรูพรุนสูง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวบุปผาชาติ กันสา
โทรศัพท์ 044-224825
Email buppha_chat@g.sut.ac.th
สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เฮมพ์คอนกรีต (Hemp Concrete)"