ถ้วยพลาสติกจากแป้งมันสำปะหลัง
นักวิจัย  
อ.ดร.กิตติศักดิ์ จันทนสกุลวงศ์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้ เรื่อง Biodegradable
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พลาสติกทีใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากทำให้ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาวัสดุในปัจจุบันจึงได้มุ่งเน้นไปยังพลาสติกที่ย่อยสลายได้ อย่างไรก็ตามพลาสติกที่ย่อยสลายได้มีราคาสูงทำให้ไม่เป็นที่นิยมในท้องตลาดและไม่สามารถแข่งขันได้กับพลาสติกจากปิโตรเลียมที่มีราคาถูกกว่า ดังนั้นการแก้ปัญหาของพลาสติกชีวภาพที่มีราคาสูงจึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาพลาสติกชีวภาพจากวัสดุที่มีต้นทุนต่ำที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ มันสำปะหลังเป็นผลผลิตที่สามารถปลูกได้จำนวนมากในประเทศไทยทำให้ต้นทุนของวัสดุมีราคาถูก จึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้เพื่อใช้ในการแทนที่พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีต้นทุนที่ต่ำสามารถแข่งขันได้กับพลาสติกที่ใช้กันในอุตสาหกรรม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการผลิตถ้วยต้นแบบเป็นการผสมแบบเกิดปฏิกิริยาระหว่างแป้งมันสำปะหลังและพลาสติกจากปิโตรเลียมโดยมีการเติมสารเติมแต่งเพื่อให้โครงสร้างเกิดการเชื่อมโยงกัน การผสมด้วยการเกิดปฏิกิริยาทำให้โครงสร้างของตัวอย่างผสมที่ได้มีส่วนของแป้งมันสำปะหลังที่มากกว่าคลุมส่วนของพลาสติกจากปิโตรเลียม ทำให้ได้คุณสมบัติความแข็งแรงที่เหมือนกับพลาสติก ย่อยสลายได้ด้วยคุณสมบัติของแป้ง ขึ้นรูปได้เหมือนพลาสติก และสามารถต้านทานน้ำได้ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ชอบน้ำของพลาสติก
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
น.ส.ณัฐพร สาครวาสี
โทรศัพท์ +66 53-942088 ต่อ 309
โทรศัพท์มือถือ +66 86-2245466
Email nuttaporn@step.cmu.ac.th
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ถ้วยพลาสติกจากแป้งมันสำปะหลัง"