ไม้เทียมจากเศษขี้เลื่อยและเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์
นักวิจัย  
รศ.วันชัย สะตะ และคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10679 เรื่อง ไม้เทียมจากเศษขี้เลื่อยและเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไม้เทียมที่จำหน่ายในปัจจุบันมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบหลักสามารถทำลวดลายให้คล้ายคลึงกับไม้จริงตามธรรมชาติ แต่มีน้ำหนักเบากว่าและมีความทนทานจึงได้รับความนิยมนำมาใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น ใช้เป็นวัสดุปูพื้นในสวน ใช้กรุผนังอาคาร ใช้เป็นวัสดุตกแต่ง
ในโรงงานแปรรูปไม้จะก่อให้เกิดเศษขี้กบไม้และขี้เลื่อยเป็นจำนวนมาก เศษขี้เลื่อยเหล่านี้สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น เป็นขี้เลื่อยอัดแท่งเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (Wood pellets) เป็นแผ่นไม้อัด ปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ อย่างไรก็ตามมีผู้นำขี้เลื่อยมาใช้ในการผลิตไม้เทียมที่มีพลาสติก (PVC) เป็นส่วนประกอบ โดยปริมาณขี้เลื่อยที่ใช้ในส่วนผสมจะมีผลต่อสมบัติต่างๆของไม้เทียม ซึ่งการเพิ่มปริมาณเศษขี้เลื่อยให้สูงขึ้นจะส่งผลต่อคุณสมบัติทางกล ได้แก่ แรงดึง แรงกระแทก และแรงตัด ให้มีค่าลดลง
จีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุผสมอะลูมิโนซิลิเกตที่มีคุณสมบัติเชื่อมประสานคล้ายปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป การใช้เถ้าลอยที่มีความละเอียดแตกต่างกันจะทำให้จีโอโพลิเมอร์มีกำลังรับแรงอัดที่แตกต่างกันด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นไม้เทียมที่มีลักษณะกายภาพเหมือนไม้ธรรมชาติ แต่มีน้ำหนักเบา นำความร้อนต่ำ เมื่อเทียบไม้ธรรมชาติ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
จินดาพร พลสูงเนิน
โทรศัพท์ 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ 086-451-4455
Email chinph@kku.ac.th
สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไม้เทียมจากเศษขี้เลื่อยและเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์"