อิฐมวลเบาคอมโพสิทจากจีโอโพลิเมอร์และวัสดุมวลเบาจากเศษแก้ว
นักวิจัย  
ดร.อนุชา วรรณก้อน
นาย วิทยา ทรงกิตติกุล
ดร.สมัญญา สงวนพรรค

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1601005199 ยื่นคำขอวันที่ 9 กันยายน 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อิฐมวลเบาที่ผลิตกันโดยทั่วไปมีความแข็งแรงต่ำและมักใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนผสมในปริมาณที่สูง ในงานวิจัยนี้ มุ่งเน้นการทำอิฐมวลเบาที่มีเศษแก้วเป็นส่วนผสมทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนและเสริมความแข็งแรง โดยใช้วัสดุจีโอโพลีเมอร์เป็นวัสดุคอมโพสิทเป็นตัวช่วย โดยต้นแบบนี้สามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้องพร้อมกันในกระบวนการเดียว จึงช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตได้มาก และเนื่องจากเป็นอิฐมวลเบาที่มีผิวเรียบ ในการนำไปใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องมีการฉาบปูนทับอีก จึงช่วยลดต้นทุนและลดการใช้ปูนซีเมนต์ลงได้มาก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ส่วนผสมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 อิฐมวลเบาจากเศษแก้ว ใช้วัตถุดิบหลักเป็นผงแก้วบดละเอียด ผสมกับสารที่ทำให้เกิดฟอง ทำให้มีความพรุนตัวและน้ำหนักเบา ส่วนที่2 ส่วนชั้นเคลือบผิวเป็นวัสดุจีโอโพลิเมอร์ที่ใช้ เมตาเกาลิน เป็นวัตถุดิบหลักทำปฏิกิริยากับสารละลายด่าง เกิดการเชื่อมประสานทั้งสองส่วน ยึดติดกันอย่างแข็งแรง มีพื้นที่ผิวเนียนเรียบสวยงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้โดยไม่ต้องฉาบปูนซีเมนต์ทับผิวอีกรอบ ต้นแบบนี้มีความหนาแน่น 0.9-1.0 g/cm3 และมีความต้านทานต่อแรงอัด 10-14 MPa
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email tlo-ipb@nstda.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อิฐมวลเบาคอมโพสิทจากจีโอโพลิเมอร์และวัสดุมวลเบาจากเศษแก้ว"