การสื่อสารระหว่างคนและคอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ใช้งานในห้องผ่าตัดด้วยกล้อง 3 มิติ
นักวิจัย  
ผศ.ดร. ฑีฆพันธุ์ เจริญพงษ์ สัดส่วน 25%
นางสาวดาวรัชฎา วงจันดา สัดส่วน 25%
นายอรรนพ กอบหิรัญ สัดส่วน 25%
นพ. ไกรยศ เกียรติสุนทร สัดส่วน 25%
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้ เรื่อง การทำงานของระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องผ่าตัดด้วยท่าทางการเคลื่อนที่ของมือ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับห้องผ่าตัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์นี้จะใช้สำหรับดูข้อมูลต่างๆ เช่น รูปภาพของผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด การที่อุปกรณ์ในห้องผ่าตัดอยู่ในสภาพปลอดเชื้อเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในการผ่าตัด คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หนึ่งทำให้อยู่ในสภาพปลอดเชื้อได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมาท์และคีบอร์ด สำหรับการแสดงผลภาพประกอบขณะผ่าตัด พยาบาลหรือผู้ช่วยจะเป็นผู้ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และสื่อสารระหว่างแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่านข้อมูลจากแพทย์ส่งพยาบาลหรือผู้ช่วยทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน และ ทำให้การสื่อสารผิดพลาดได้
จากข้อจำกัดข้างต้น อุปกรณ์ที่ลดการสัมผัสและยังคงสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ได้จึงเป็นที่ต้องการ เพื่อให้แพทย์ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้นและถุงมืออยู่ในสภาพปลอดเชื้อ โดยในปัจจุบันได้มีงานวิจัยหลายฉบับได้นำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ ไว้เพื่อลดการติดเชื่อในกรณีสั่งงานในห้องผ่าตัด เช่น การแสดงอารมณ์ การใช้มือ การใช้ท่าทางของร่างกาย การมอง
จากปัญหาในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่จำกัด และ ความต้องการของแพทย์ในการทำงานและสั่งการคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน จึงเป็นที่มาให้คณะวิจัยนำเสนอการพัฒนาระบบสั่งการคอมพิวเตอร์ในห้องผ่าตัดด้วยกล้อง 3 มิติ เพื่อให้มือของแพทย์และผู้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดปลอดการติดเชื้อจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และลดอันตรายจากแผลติดเชื้อในผู้ป่วยได้ต่อไป
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ระบบนี้นำเสนอ การสื่อสารระหว่างคนและคอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ใช้งานในห้องผ่าตัดด้วยกล้อง 3 มิติ โดยชุดท่ำคำสั่งที่ควบคุมด้วยมือ มีทั้งหมด 7 ท่าทาง และมีความแม่นยำของระบบ 95.72% ความผิดพลาดของระบบ เกิดจากท่าทางเริ่มต้นที่ไม่เหมาะสม และ การเคลื่อนที่ของมือไม่เหมาะสม ซึ่งมีความผิดพลาดที่ 0.24% และ 4.05%
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฑีฆพันธุ์ เจริญพงษ์
โทรศัพท์มือถือ 0877836498
Email theekapun@g.swu.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การสื่อสารระหว่างคนและคอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ใช้งานในห้องผ่าตัดด้วยกล้อง 3 มิติ"