กรรมวิธีการย้อมผ้าสีม่วงจากว่านยาอูเนะ
นักวิจัย  
รศ.ดร.รจนา ชื่นศิริกุลชัย
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11115 เรื่อง กรรมวิธีการย้อมผ้าสีม่วงจากว่านยาอูเนะ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
วัตถุดิบที่ใช้ย้อมสีผ้านั้น ในสมัยโบราณได้นำพืชสมุนไพรและเปลือกไม้ที่มีอยู่มากมายในท้องถิ่นของเรามาใช้ย้อมผ้า พืชพื้นบ้านเหล่านี้ สามารถนำเอาดอก ใบ เปลือกไม้ และเมล็ด มาต้มเคี่ยวให้เกิดเป็นสีเข้มขึ้น แล้วนำน้ำสีมาย้อมผ้า เช่น ย้อมรากยอเป็นสีแดง ย้อมครามเป็นสีน้ำเงิน ย้อมมะเกลือเป็นสีดำ ย้อมขมิ้นชันหรือแก่นขนุนเป็นสีเหลือง ย้อมลูกสมอหรือใบหูกวางหรือเปลือกมะกรูดเป็นสีเขียว ย้อมเปลือกไม้โกงกางเป็นสีน้ำตาล การย้อมสีผ้าพบเห็นทั่วไปตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยหรือต่างประเทศ ต่างก็นำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นนำมาเป็นสีย้อมผ้าตามกระบวนการของตนเองและจากการค้นคว้าตามเอกสาร วารสาร งานวิจัย หรือตามหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องนี้ สีที่หายากและค้นพบน้อยที่สุดคือ สีม่วง ซึ่งได้จากลูกหว้า มะหวด เปลือกมังคุด ข้าวก่ำ และผลหม่อนสุก สีม่วงที่ได้จะเป็นสีม่วงที่คล้ำ ไม่สดใสและบางตัวมีคุณภาพสีที่ได้ที่ไม่คงทน แต่กรรมวิธีการย้อมผ้าสีม่วงจากว่านยาอูเนะ ที่คิดค้นนี้ ช่วยให้ได้สีม่วงที่ใสไม่หมอง สีไม่ตกและมีความคงทนของสีต่อการนำไปใช้งานและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรรมวิธีการย้อมผ้าสีม่วงจากว่านยาอูเนะ โดยใช้วัสดุจากลักษณะคล้ายหัวหอม ซึ่งเลือกได้จากใบเป็นใบเดี่ยว รูปดาบ จีบพับซ้อนกันคล้ายพัด สีแดง ตำให้ละเอียดแล้วนำมาต้มกับน้ำสะอาดเพื่อสกัดสีย้อม ย้อมกับผ้าฝ้าย ย้อมที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ได้สีม่วงที่ใส สีไม่ตก มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกทั้งน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์
โทรศัพท์ 053-921444 ต่อ 1120
โทรศัพท์มือถือ 081-6737929
Email a_asset@rmutl.ac.th
สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการย้อมผ้าสีม่วงจากว่านยาอูเนะ"