![]() |
||||||
นักวิจัย
ผศ.ดร.บุญเสริม แก้วกำเหนิดพงษ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1601001595 เรื่อง หุ่นยนต์อัตโนมัติแบบเคลื่อนที่ได้สำหรับสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ยื่นคำขอวันที่ 21 มีนาคม 2559
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ นอกจากการดูแลประชากรสูงอายุให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ขณะเดียวกันเรายังจำเป็นต้องสร้างศักยภาพของวัยแรงงานในอนาคตให้มีพัฒนาการที่ดี สามารถเป็นกำลังสำคัญสนับสนุนการเกื้อหนุนทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประชากรวัยต่าง ๆ ได้อีกด้วย ประชากรวัยเด็กที่มีจำนวนน้อย จำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ อย่างไรก็ตาม ประชากรวัยเด็กบางส่วนได้รับผลกระทบจากความท้าทายด้านการเรียนรู้ หนึ่งในนั้นคือกลุ่มอาการออทิซึม (Autism Spectrum Disorders) ซึ่งมีความบกพร่องสำคัญ 3 ด้าน คือ
o ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม o ด้านการสื่อสาร และ o ด้านพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือมีความสนใจจำกัด ความบกพร่องดังกล่าวถึงแม้จะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนรู้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม ยิ่งทำให้ประชากรวัยเด็กที่มีอยู่น้อย ต้องรับภาระมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลการสำรวจประชากรทั่วโลก พบว่า อัตราความชุกของกลุ่มอาการออทิซึมเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก บุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดอาการและส่งเสริมการเรียนรู้มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วยออทิสติกให้ทั่วถึงได้ การฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ปกครองและผู้ดูแลจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ แต่การส่งเสริมการเรียนรู้ผู้ป่วยออทิสติกที่มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ผู้บำบัดที่ไม่มีประสบการณ์อาจหงุดหงิด โมโห อารมณ์เชิงลบของผู้บำบัดอาจไปปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็กได้ แต่หากเราไม่ดำเนินการใด ๆ เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะว่างงานในอนาคต ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติ BLISS ช่วยสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก มีฟังก์ชั่นที่รองรับกิจกรรมได้หลากหลาย เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ความรู้และทักษะตามระดับพัฒนาการ พร้อมทั้งเรียนรู้การควบคุมตนเองในสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านการเล่นเกมตามกฎกติกา สามารถใช้ส่งเสริมพัฒนาการได้หลายครั้งตามความจำเป็น โดยที่หุ่นยนต์ไม่แสดงพฤติกรรมเชิงลบ แต่ใช้หลักการเสริมกำลังเชิงบวกแทน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้กับผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่บ้านได้ง่ายขึ้น |
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- หุ่นยนต์ BLISS เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติแบบเคลื่อนทีได้สำหรับสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก มีฟังก์ชั่นที่รองรับกิจกรรมได้หลากหลาย
- หุ่นยนต์จะไม่แสดงพฤติกรรมหรืออารมณ์เชิงลบ แต่จะใช้หลักการเสริมกำลังเชิงบวก (Reinforcement Strategy) |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
|||||
|