วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพ
นักวิจัย  
รศ.ดร. เสน่ห์ แก้วนพรัตน์
คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603002034 เรื่อง วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพ ยื่นคำขอวันที่ 22 กันยายน 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เซลลูโลสเป็นพอลิเมอร์ที่สร้างจากพืชเป็นส่วนใหญ่ แต่มีแบคทีเรียหลายสายพันธุ์สามารถผลิตเซลลูโลสได้ แบคทีเรียที่ผลิตเซลลูโลสได้ดีที่สุด คือ อะซีโตแบคเตอร์ ไซลีนัม (Acetobacter xylinum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่ง ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต พบได้ตาม ผัก ผลไม้ น้ำส้มสายชู และน้ำผลไม้ เชื้อจะผลิตเซลลูโลสจากคาร์บอนที่ได้จากน้ำตาล เช่น กลูโคส ซูโครส หรือ กลีเซอรีน (glycerine) และมีเอนไซม์เซลลูโลสซินเทส (cellulose synthase) ทำหน้าที่เชื่อมต่อโมเลกุลของ ยูดีพี-กลูโคส (UDP-glucose) ให้เกิดเป็นเซลลูโลสพอลิเมอร์ขึ้น เชื้อจะปล่อยเซลลูโลสออกมาจากช่องเปิดที่เรียงอยู่เป็นแถวบนผนังเซลล์ สายเซลลูโลสที่ถูกปล่อยออกมาจะเรียงตัวชิดกันเป็นเส้นใยที่มีลักษณะคล้ายริบบิ้นเรียกว่า ไฟบริน (fibrin) และประสานกันเป็นร่างแห เกิดเป็นแผ่นลอยอยู่บริเวณผิวหน้าของอาหารเลี้ยงเชื้อ เส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตได้จากแบคทีเรียมีความบริสุทธิ์สูงต่างจากเส้นใยเซลลูโลสที่ได้จากพืช เนื่องจากไม่มีส่วนของเฮมิเซลลูโลส (hemicelluloses), ลิกโนเซลลูโลส (lignocelluloses) และสารพวกไขมันซึ่งกำจัดออกได้ยากผสมอยู่ เมื่อนำเส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียมาทำให้บริสุทธิ์จะใช้พลังงานและสารเคมีน้อยกว่า เส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้มาก 200-700 เท่าของน้ำหนักแห้ง เส้นใยจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ มีลักษณะเป็นผลึก ทนต่อแรงกระทำได้สูง ปัจจุบันมีการนำเส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรีย มาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มความหนืด ใช้เป็นสารยึดเกาะและสารเคลือบผิวในการทำกระดาษ ในทางการแพทย์ใช้เป็นวัสดุปิดแผล เพราะมีความสามารถในการดูดซับสารคัดหลั่ง (exudates) จากบาดแผลได้ดี สร้างความชื้นที่พอเหมาะ ออกซิเจนเข้าถึงบาดแผลได้ ทำให้เนื้อเยื่อเจริญได้ดี แผลหายเร็ว ช่วยป้องกันบาดแผลจากแรงกระแทกและการติดเชื้อจากภายนอก โปร่งแสงสามารถมองเห็นการหายของแผลได้ มีความยืดหยุ่นสูงสามารถแนบไปกับบริเวณที่ปิด ลดความเจ็บปวดเมื่อลอกออกเพราะไม่ติดแผล นอกจากนี้ยังมีการใส่ตัวยาลงในแผ่นเส้นใยเซลลูโลส เพื่อให้ออกฤทธิ์รักษาเฉพาะที่ด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) และกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามการประดิษฐ์นี้ เป็นการสร้างวัสดุปิดแผลที่เตรียมจากเส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียใส่สารชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคและช่วยสมานแผล โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ เส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรีย สารชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) และสารเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวัสดุปิดแผล นำมาผ่านกระบวนการผลิตตามวิธีการที่ได้คิดค้นขึ้น จนได้เป็นวัสดุปิดแผลที่ทำจากเซลลูโลสที่ผลิตได้จากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074289321
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ม.อ.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพ"