แว๊กน้ำมันอะโรม่าสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อย
นักวิจัย  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์
วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703000497 เรื่อง กรรมวิธีผลิตแว๊กน้ำมันอะโรม่าที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย ยื่นคำขอวันที่ 23 มีนาคม 2560
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น เหง้าไพล รากย่านาง ผิวมะกรูด ว่านร่องทอง รากเจตมูลเพลิงแดง ว่านน้ำ ใบพลับพลึง ว่านมหากาฬ และว่านกาบหอย ฯลฯ ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด และอักเสบบริเวณกล้ามเนื้อ และข้อกระดูก ซึ่งสมุนไพรบางตัวได้มีการยืนยันจากรายงานทางวิทยาศาสตร์ หรือทางด้านคลินิกทั้งทางด้านแผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทยแล้วว่าสามารถรักษา หรือบรรเทาอาการปวด และอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งอาจมีฤทธิ์เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน เช่น diclofinac เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ได้ถูกนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องสำอาง โดยมีการอ้างสรรพคุณแตกต่างกันไป สำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในการนวดที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเหล่านี้ เพื่อการรักษา บรรเทา ผ่อนคลายในรูปแบบเดิม ซึ่งจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เช่น รูปแบบน้ำมันซึ่งจะมีความลื่น ลดการเสียดสี เหมาะสำหรับการนวด ขั้นตอนการผลิต และเติมสารสกัดและน้ำมันหอมระเหยสามารถทำได้ง่าย แต่มักสิ้นเปลืองระหว่างการใช้ เลอะเทอะ เปื้อนง่าย ส่วนในรูปแบบแว๊กขี้ผึ้งจะไม่เลอะง่าย ประหยัด แต่ขั้นตอนการผลิตยากกว่า และยังไม่ค่อยลื่นระหว่างการนวด และมีความเหนียวเหนอะหลังจากการนวดอีกด้วย ดังนั้นหากมีการพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์สำหรับนวดที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีรูปแบบใหม่ จะช่วยลดปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดิมดังกล่าว และยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แว๊กน้ำมันอะโรม่าสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อย มีจุดเด่นคือ จะมีสถานะเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลวในสภาวะปกติ และจะกลายเป็นน้ำมันเมื่อมีการถูนวด เมื่อใช้แล้วไม่เหนอะนะ มีความลื่น และไม่สิ้นเปลืองระหว่างใช้งาน อีกทั้งยังมีการใช้สารสกัดจากสมุนไพรมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบ และยังมีกลิ่นหอมช่วยให้ผ่อนคลายได้ดี
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางมยุรี จอยเอกา
โทรศัพท์ 025494681
โทรศัพท์มือถือ 0831516740
Email mayuree_j@rmutt.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แว๊กน้ำมันอะโรม่าสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อย"