แผ่นฟิล์มโพลีเมอร์ (polymer) ที่มีส่วนผสมของชานอ้อย
นักวิจัย  
รศ.สมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม และคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1403000309 เรื่อง แผ่นฟิล์มพอลิเมอร์ (Polymer) ที่มีส่วนผสมของชานอ้อยและกรรมวิธีการผลิตแผ่นฟิล์มดังกล่าว ยื่นคำขอวันที่ 21 มีนาคม 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การยืดอายุการเน่าเสียของผักและผลไม้ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดแผ่นฟิล์มที่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ เพื่อช่วยชะลอกระบวนการหายใจของผักผลไม้ ทำให้เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น แต่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบันนั้นไม่เหมาะสมกับผลผลิตเขตร้อนจึงส่งผลให้ผลผลิตนั้นมีอายุการเก็บรักษาสั้น
ปัจจุบันมีการนำชานอ้อยมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุอาหาร เนื่องจากเส้นใยชานอ้อยมีคุณสมบัติช่วยเสริมแรงหากนำไปผสมกับชิ้นงาน จึงนิยมนำไปผสมกับเม็ดพลาสติกเพื่อผลิตเป็นชิ้นงานคอมโพสิท (Composite) แต่ยังไม่มีการนำชานอ้อยมาใช้ผสมพลาสติกเพื่อการผลิตแผ่นฟิล์มที่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ นอกจากนั้นยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายใน 45 วัน โดยการฝั่งลงดิน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แผ่นฟิล์มโพลีเมอร์ (polymer) ที่มีส่วนผสมของชานอ้อย ประกอบด้วยเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำและชานอ้อย แล้วนำไปผ่านกรรมวิธีการผลิตจนได้แผ่นฟิล์มโพลีเมอร์ที่มีความแข็งแรง มีคุณสมบัติที่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้สูงกว่าแผ่นฟิล์มที่ผลิตโดยวิธีธรรมดา เหมาะสำหรับใช้ในการห่อพืช ผัก ผลไม้ เพื่อยืดอายุของผลผลิตได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณพิชชานันท์ พงษ์พรรณากูล
โทรศัพท์ 086-4514455
Email pitcpo@kku.ac.th
สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผ่นฟิล์มโพลีเมอร์ (polymer) ที่มีส่วนผสมของชานอ้อย"