สารต้านอนุมูลอิสระจากดอกหางนกยูงฝรั่งเพื่อเวชสำอาง
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สุภกร บุญยืน , ผศ.ดร.ปาริยา ณ นคร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10853 เรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระจากดอกหางนกยูงฝรั่งเพื่อเวชสำอาง
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ดอกหางนกยูงฝรั่งใช้เป็นยาภายนอกสำหรับรักษาอาการอักเสบ ผู้ประดิษฐ์จึงทำการวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาด้านการต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากสารสกัด และทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคที่สำคัญหลายโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคมะเร็ง และสารอนุมูลอิสระยังก่อให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรรมวิธีการสกัดเพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระจากดอกหางนกยูงฝรั่ง เป็นการนำดอกหางนกยูงมาผ่านกรรมวิธีการสกัดและการทำให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระออกมาในปริมาณมาก สามารถทำได้โดยนำดอกหางนกยูงมาล้าง อบแห้ง บดให้ละเอียด แล้วนำไปผ่านกระบวนการสกัดโดยทำปฏิกิริยากับตัวทำละลายในสภาวะที่เหมาะสม นำมากรองผ่านกระดาษกรอง ก่อนนำสารละลายที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์ โดยนำไปผ่านกระบวนการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบคอลัมน์ (column chromatography) จากนั้นจึงนำไประเหยแห้ง เพื่อไล่ตัวทำละลายออก จะได้สารสกัดจากดอกหางนกยูง ที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวสีเหลืองส้ม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเวชสำอางได้
ส่วนของดอกหางนกยูงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด (TPC) และ ฟลาโวนอยด์ ทั้งหมด(TFC) สูงที่สุด รวมทั้งมีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระดีพีพีเอชสูงที่สุดโดยพิจารณาในกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา และยังให้ค่า IC50 ต่ำสุด โดยตัวทำละลายที่สามารถสกัดสารสำคัญออกจากดอกหางนกยูงดีที่สุดคือ เอทิลอะซิเตต แสดงค่า IC50 TPC และ TFC เป็น 39.07±0.64 ppm 193.565 mg GAE g-1 dry wt. และ 196.444 mg QE g-1 dry wt. ตามลำดับ สารสกัดที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงสารนั้นจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระและยับยั้งแบคทีเรียในปริมาณที่สูงเช่นกันโดยในตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ให้ค่า inhibition zone สำหรับ S. aureus และ E. coli เป็น 1.97±0.18 มิลลิเมตร และ 1.81±0.11มิลลิเมตร ตามลำดับ เพื่อเป็นการนำสารสกัดจากดอกหางนกยูงไปใช้ จะต้องมีการแยกสารเพื่อทำให้บริสุทธิ์ต่อไปจึงจะสามารถนำสารต้านอนุมูลอิสระไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเวชสำอางต่อไป
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ 02-564-4440 ต่อ 1664-5
Email tu.tuipi@gmail.com
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารต้านอนุมูลอิสระจากดอกหางนกยูงฝรั่งเพื่อเวชสำอาง"