![]() |
||||||
นักวิจัย
1. ผศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล
2. อาจารย์ทัศนีย์ สกุลดำรงพานิช 3. นางสาวเต็มศิริ ทรงเจริญ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1601006561 เรื่อง อุปกรณ์ตรวจหมู่เลือด ABO แบบรายงานผลเป็นตัวอักษรบนกระดาษ
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
วิธีการตรวจหมู่เลือด ABO ในระดับภาคสนาม เช่น การตรวจคัดกรองหมู่เลือด ABO ของผู้บริจาคโลหิตก่อนการบริจาคเลือด หรือการตรวจหมู่เลือดเบื้องต้นในพื้นที่ห่างไกลที่ขาดแคลนเครื่องมือ ปัจจุบันนิยมใช้วิธีสไลด์ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย รวดเร็ว แต่การตรวจจำเป็นต้องใช้น้ำยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม น้ำยาที่ใช้อยู่ในรูปสารละลาย อาจหกเลอะเทอะไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน และใช้กระจกสไลด์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุแก้วบาดขณะปฏิบัติงาน และการอ่านผลหมู่เลือดจากตัวอย่างตรวจจำนวนมากอาจเกิดความล้า ทำให้เกิด human error ได้ เมื่ออ่านผลหมู่เลือดแล้ว ต้องล้างอุปกรณ์ตรวจทันที ไม่สามารถเก็บผลการตรวจไว้ทวนสอบภายหลังได้
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วิธีการตรวจหมู่เลือดระบบ ABO บนกระดาษ และรายงานผลเป็นตัวอักษร โดยใช้กระดาษกรองเป็นวัสดุพื้นฐานในการสร้างอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ มีการพิมพ์อักษร A และ B เพื่อใช้เป็นบริเวณสำหรับทำปฏิกิริยาระหว่าน้ำยาที่ใช้ตรวจและตัวอย่างเลือด เมื่อหยดตัวอย่างเลือดลงบนกระดาษบริเวณอักษร A และ B จะเกิดปฏิกิริยาจับกลุ่มระหว่างเม็ดเลือดแดงกับแอนติบอดีที่ตรึงบนกระดาษ จากนั้นสามารถแปลผลหมู่เลือดได้ โดยหมู่เลือดเอ จะมีสีแดงที่ตัวอักษร A หมู่เลือด B จะมีสีแดงที่ตัวอักษร B หมู่เลือดเอบี จะมีสีแดงที่ตัวอักษร A และ B ส่วนหมู่เลือดโอ จะไม่มีสีแดงที่ตัวอักษร A และ B
|
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
|||||
|