KU-ZEA1 ชุดตรวจสอบสารพิษซีราลีโนนแบบ ELISA และ KU-AF2 อิมมูโนแอฟฟินิตีคอลัมน์สำหรับอะฟลาทอกซิน
นักวิจัย  
ผศ. ดร. รัชนี ฮงประยูร
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นจึงมักพบการปนเปื้อนของเชื้อราในผลผลิตทางการเกษตรตั้งแต่ขั้นการเก็บเกี่ยวจนถึงการเก็บรักษาซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรมากมาย เชื้อราบางสายพันธุ์สามารถสร้างสารพิษ (Mycotoxins) ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนและสัตว์ สารพิษจากเชื้อราที่สร้างขึ้นมีโอกาสตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรและเข้าสู่วงจรอาหารทั้งของคนและสัตว์ สารพิษจากเชื้อราดังกล่าวไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อนในกระบวนการผลิตอาหาร ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากสารพิษเชื้อราจากการบริโภคอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม
สารพิษที่สร้างจากเชื้อราในวัตถุดิบการเกษตรที่สำคัญในอาหารในประเทศไทยที่สนใจศึกษาในครั้งนี้มี 2 ชนิด คือ สารพิษอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) สร้างโดยเชื้อราแอสเพอจิลลัส (Aspergillus spp.) และสารพิษซีราลีโนน (Zearalenone) สร้างโดยเชื้อราฟิวซาเรียมหลายสายพันธุ์ (Fusarium spp.) เป็นที่ทราบกันว่าอะฟลาทอกซินเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ และซีราลีโนนมีผลต่อระบบฮอร์โมนสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงซึ่งทำให้ผลผลิตของสัตว์ลดลง ซึ่งการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินและซีราลีโนนในอาหารคนและอาหารสัตว์ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจโดยตรง การตรวจติดตามเพื่อเฝ้าระวังเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยง และช่วยลดอันตรายหรือการสูญเสียทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสารพิษจากเชื้อรา โดยโครงการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยเพื่อลดต้นทุนการผลิตอิมมูโนแอฟฟินิตีคอลัมน์สำหรับอะฟลาทอกซิน “KU-AF2” และการปรับปรุงชุดตรวจสอบซีราลีโนนด้วยเทคนิค ELISA “KU-ZEA1”
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ชุดตรวจสอบสารพิษเชื้อราในอาหารที่ผลิตจากโมโนโคลนอลแอนตีบอดีที่มีความจำเพาะสูงและผ่านการทดสอบความใช้ได้ในทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับภาคสนาม
1. KU-ZEA1 เป็นชุดตรวจสอบสารพิษซีราลีโนนแบบ ELISA
2. KU-AF2 เป็นอิมมูโนแอฟฟินิตีคอลัมน์สำหรับทำให้สารพิษอะฟลาทอกซินบริสุทธิ์และมีความเข้มข้นมากขึ้นภายในขั้นตอนเดียว ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณอะฟลาทอกซินด้วยวิธีทางเคมี
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ 0-2579-7435 ต่อ 3305-3309
Email support@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "KU-ZEA1 ชุดตรวจสอบสารพิษซีราลีโนนแบบ ELISA และ KU-AF2 อิมมูโนแอฟฟินิตีคอลัมน์สำหรับอะฟลาทอกซิน"