![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ.ดร.วิภาวดี วงษ์สุวรรณ์
ผศ.ดร.วิมล แสนอุ้ม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการปรับอากาศในอาคารสำนักงาน อาคารที่อยู่อาศัย และอาคารโรงงานมีสัดส่วนสูง และการปรับอากาศจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาวะความน่าสบาย (Thermal comfort) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานในห้องหรือพื้นที่ปรับอากาศนั้น และควรจะสามารถวางแผนการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในขณะที่ให้ผลเชิงบวกต่อการรักษาช่วงสภาวะความน่าสบายตามมาตรฐาน ASHRAE ด้วย
แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบสภาวะน่าสบาย เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการควบคุมจะช่วยการลดการใช้พลังงานได้ต่อไป อุปกรณ์ต้นแบบนี้ได้ผ่านการค้นคว้าวิจัยและทดสอบทางด้านอิเลคทรอนิกส์อัจฉริยะ ผู้วิจัยได้คาดหวังว่าผลงานนี้จะนำมาซึ่งการใช้พลังงานและการสร้างสภาวะน่าสบายอย่างยั่งยืนเพื่อเทคโนโลยีอาคาร โดยต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมปรับอากาศ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมพลังงาน และวิศวกรรมไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์และควบคุม |
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุปกรณ์วัดสภาวะความน่าสบายในโรงงานและสำนักงาน ขนาดมือถือ พัฒนาด้วยระบบสมองกลฝังตัวแบบ stand alone สามารถกรอกข้อมูล 5 รายการ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ, อุณหภูมิการแผ่รังสีเฉลี่ย, ความชื้นสัมพัทธ์, ความเร็วลม และค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าของบุคคล สามารถแสดงค่า PMV เพื่อบอกระดับความน่าสบายใน 7 ระดับ ได้แก้ ร้อน ค่อนข้างร้อน อุ่น สบาย เย็น ค่อนข้างเย็น และหนาว
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
|
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น | |
|||||||
|