เม็ดแมงลักสกัดน้ำมันออกเพื่อการพองตัวที่ดีกว่าเม็ดแมงลักธรรมดาทั่วไป
นักวิจัย  
อ.ดร. ศรินทิพ สุกใส และคณะ
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในตำราสมุนไพรไทย เมล็ดแมงลัก เมื่อแช่น้ำจะพองตัวเห็นเป็นเยื่อขาว ที่มีลักษณะลื่นเป็นเมือก จะนิยมบริโภคเป็นอาหารหวาน จะช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระสะดวก เพราะเมือกขาวทำให้ลื่น อุจจาระไม่เกาะลำไส้ และช่วยเพิ่มเนื้อ เพิ่มมวลอาหาร จึงนิยมบริโภคเพื่อเป็นสารควบคุมน้ำหนัก (เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2514) ซึ่งสรรพคุณนี้มีผลเช่นเดียวกับ เปลือกเมล็ดของพืชจำพวก Plantago หรือที่เรียกกันว่า เปลือกเมล็ดไซเลี่ยม
นอกจากนี้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับการสกัดสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก และการทำผงเมือกแมงลัก การทำผงเมล็ดแมงลัก โดยการสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่อง ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างในผงเมล็ดแมงลัก จึงไม่เหมาะสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม
ด้วยปัญหาเหล่านี้ มีแนวทางในการแก้ปัญหาการผลิตดังกล่าว ด้วยการสกัดน้ำมันออกจากผงเมล็ดแมงลักด้วยกระบวนการที่ได้รับการจดสิทธิบัตร จะได้ผงแมงลักแห้งที่มีไขมันเหลืออยู่ประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ พองตัวได้อย่างรวดเร็วและแขวนลอยได้ดีในน้ำ ไม่เหม็นหืน แม้เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลาหนึ่งปี เหมาะสมในการเป็นสารเติมแต่งในอาหารอีกด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เมล็ดแมงลักสามารถพองตัวได้จากเมือกที่อยู่บนเมล็ดของมันถ้าหากถูกแช่ในน้ำซึ่งการพองตัวของเม็ดแมงลักทั่วไปจะสามารถพองตัวได้ในระดับหนึ่ง
แต่ด้วยกระบวนการสกัดน้ำมันจากเม็ดแมงลักที่ยื่นจดสิทธิบัตร ทำให้เม็ดแมงลักสามารถพองตัวได้มากขึ้นกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับน้ำหนักที่เท่ากัน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายกว่าเม็ดแมงลักทั่วไป โดยการพองตัวนี้ขึ้นยู่กับน้ำและสภาพแวดล้อมของตัวเม็ดแมงลักเองด้วย

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ธัชชัย หงส์ยั่งยืน
โทรศัพท์ 022184195-97
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เม็ดแมงลักสกัดน้ำมันออกเพื่อการพองตัวที่ดีกว่าเม็ดแมงลักธรรมดาทั่วไป"