ชุดตรวจคัดกรองสารพันธุกรรมทำนายอาการแพ้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิพีน
นักวิจัย  
รศ.ดร.นพ.พรพรต ลิ้มประเสริฐ
นพ.คณุตม์ จารุธรรมโสภณ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1301007163 เรื่อง ชุดตรวจคัดกรองสารพันธุกรรมทำนายอาการแพ้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิพีน (Carbamize pine) ยื่นคำขอวันที่ 17 ธันวาคม 2556
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองสารพันธุกรรมทำนายอาการแพ้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิพีน เป็นชุดตรวจระบุลักษณะทางพันธุกรรม HLA-B*15:02 จากดีเอ็นเอ การตรวจคัดกรองจะทำก่อนการให้ยาคาร์บามาซีพีนเสมอ ผู้ป่วยที่จะทดสอบด้วยชุดตรวจดังกล่าวจะต้องเจาะเลือดเพื่อนำตัวอย่างเลือดมาสกัดดีเอ็นเอก่อนการทดสอบ
ชุดตรวจคัดกรองมีหลักการทดสอบสองขั้นตอน ขั้นแรกจากการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเออย่างจำเพาะ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า allele-specific PCR ผู้ที่มีผลลบจากตรวจคัดกรองขั้นแรกจะสามารถใช้ยาได้ ในขณะที่ผู้ที่มีผลบวกในขั้นแรกจะถูกนำมาทดสอบในขั้นที่สอง ซึ่งทดสอบโดยเทคนิคที่เรียกว่า direct dot blot hybridization คือ การนำดีเอ็นเอที่เพิ่มจำนวนมาในขั้นแรกมาตรวจจับอย่างจำเพาะบนแผ่นไนลอน ผลบวกที่ได้จะปรากฎให้เห็นเป็นจุดสี (ดังรูป) ผลบวกต่อการทดสอบจะหมายถึงผู้ป่วยมีลักษณะ HLA-B*15:02 ซึ่งเป็นข้อห้ามในการใช้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิพีน ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอื่นทดแทน ในขณะเดียวกัน ผลตรวจเป็นลบจะบ่งชี้ว่าผู้ป่วยไม่มีลักษณะพันธุกรรมเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้ยา
ผลจากการพัฒนานี้ นำมาสู่การใช้งานจริงในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ช่วยแพทย์ตัดสินใจเลือกจ่ายยา ช่วยให้การรักษามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลักษณะเด่นของนวัตกรรม คือ ทำได้ง่าย มีราคาถูก อาศัยเครื่องมือที่มีในห้องปฏิบัติการทั่วไป มีความแม่นยำที่เหมาะสมกับทั้งประชากรไทย และประชากรประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชุดตรวจนี้มีศักยภาพในการต่อยอดทางการค้าในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองสารพันธุกรรมทำนายอาการแพ้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิพีนนี้ได้ผ่านการทดสอบความแม่นยำโดยใช้ตัวอย่างดีเอ็นเอ จำนวน 155 ตัวอย่าง พบว่า ชุดตรวจมีเป็นความไว (sensitivity) ร้อยละ 100 ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 99.23 ซึ่งหมายความว่า ชุดตรวจคัดกรองดังกล่าวนี้สามารถระบุตัวอย่างที่มี HLA-B*15:02 ได้ทุกตัวอย่างโดยไม่ปรากฎผลลบปลอม และมีอัตราการให้ผลบวกต่อตัวอย่างที่ไม่มี HLA-B*15:02 ต่ำมาก นอกจากนี้ต้นทุนต่อการตรวจโดยชุดทดสอบนี้มีราคาไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่รองรับตามระเบียบกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074289321
โทรศัพท์มือถือ 09-0970-7099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดตรวจคัดกรองสารพันธุกรรมทำนายอาการแพ้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิพีน"