![]() |
||||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.ปริญญา มาสวัสดิ์
ดร.แอนโทนี่ ฮาร์ฟิลด์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10386 เรื่อง เครื่องตรวจวิเคราะห์ปริมาณเหล็กในน้ำแบบพกพาด้วยวิธีการประมวลผลภาพถ่ายสีดิจิตอล
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ทีมวิจัยมีความต้องการที่จะพัฒนาเครื่องดิจิตอลอิมเมจเบสคัลเลอริมิเตอร์จากผลงานงิจัยเดิมที่เคยได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 2556 ให้มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง ใช้งานได้ง่าย ทันสมัยมากขึ้นและสามารถพกพาได้อย่างแท้จริง อีกทั้งพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและประมวลผลได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวกนี้ เป็นเครื่องมือทดสอบสารตกค้างที่ทำให้เกิดสีได้ในอาหาร เครื่องสำอางค์ และยา ตัวเครื่องมีลักษณะเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา ราคาถูก และยังประมวลผลได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยแอพพลิเคชั่นในระบบ iOS ที่ติดตั้งไว้บน iPod touch โดยอาศัยหลักการของทฤษฎีระยะทางแบบยุคลิค ซึ่งเป็นการหาระยะทางปกติระหว่างจุดสองจุดในแนวเส้นตรงโดยทำการถ่ายภาพสารละลายที่ความเข้มข้นต่างๆ ที่มีสีไล่กัน แล้วทำการเก็บค่าสีทั้งหมด 7 ค่า (สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ค่าสีสัน ค่าความอิ่มตัวของสี ค่าความสว่าง และค่าสีเทา) ของแต่ละภาพไว้เป็นฐานข้อมูลสี จากนั้นเมื่อถ่ายภาพสีของสารละลายตัวอย่างแล้วแอพพลิเคชั่นจะสามารถประมวลผลออกมาเป็นความเข้มข้นได้ภายในเวลา 1 วินาที โดยเทียบกับฐานข้อมูลสีที่เก็บไว้ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถทดแทนเครื่องคัลเลอริมิเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาดซึ่งมีราคาแพง
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร | |
|||||||
|