![]() |
||||||
นักวิจัย
ดร.ศุภมาส ด่านวิทยากุล
ดร.อารี ธนบุญสมบัติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 8455 เรื่อง ชุดทดสอบสำหรับการหาปริมาณเฮกซะวาเลนซ์โครเมียม (เฮกซะวาเลนต์โครเมียมพีพีบีเรนจ์เทสต์คิต)
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1503000166 ยื่นคำขอวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 |
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เฮกซะวาเลนต์โครเมียม (Cr(VI)) เป็นสารอันตรายที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง เมื่อได้รับสาร Cr(VI) เป็นเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด โครงสร้างดีเอ็นเอถูกทำลายได้ง่ายมากขึ้น Cr(VI) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นไตรวาเลนซ์โครเมียม Cr(III) จะไปจับกับโปรตีนในร่างกาย ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ได้รับสาร Cr(VI) จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง เป็นโรคหืดหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปอด ตับ ไต ลำไส้ถูกทำลาย มีอาการบวมน้ำ เจ็บแถวกระบังลมหรือลิ้นปี่ได้
โดยทั่วไปการตรวจหาเฮกซะวาเลนต์โครเมียมจะใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการที่สามารถทดสอบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ แต่มีข้อจำกัด เช่น เครื่องมือมีราคาแพงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบและไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ดังนั้นห้องปฏิบัติการวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารอันตรายหน่วยวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติจึงได้พัฒนาชุดทดสอบอย่างง่ายสำหรับการตรวจหาเฮกซะวาเลนต์โครเมียม (test kit for hexavalent chromium determination) ที่มีต้นทุนต่ำโดยชุดทดสอบที่ตรวจวัดได้ในช่วงพีพีบี หรือ part per billion เหมาะกับการตรวจวัดน้ำที่เป็นน้ำดื่ม ได้รับอนุสิทธิบัตรเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2556 ส่วนอีกแบบเป็นการตรวจวัดแบบเร็ว หรือควิกเฮกซะวาเลนต์โครเมียมเทสต์คิต วัดได้ในช่วงพีพีเอ็ม หรือ part per million ที่เหมาะกับการตรวจวัดในน้ำเสีย ที่ยื่นคำขอรับความคุ้มครองแบบอนุสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 |
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ชุดทดสอบอย่างง่ายสำหรับการตรวจหาเฮกซะวาเลนต์โครเมียม (test kit for hexavalent chromium determination) ต้นทุนต่ำ ทดสอบได้ง่ายใช้สำหรับทดสอบเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ
• เฮกซะวาเลนต์โครเมียมพีพีบีเรนจ์เทสต์คิต (Hexavalent chromium test kit: ppb range) ใช้ทดสอบเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำชนิดใช้ครั้งเดียว เหมาะกับน้ำที่มีการปนเปื้อนในระดับต่ำๆที่มีความเข้มข้นในช่วง 10-100 ไมโครกรัมต่อลิตร วิธีการทดสอบทำโดยจุ่มแผ่นทดสอบลงในน้ำ ภายในเวลาที่กำหนดหากน้ำมีการปนเปื้อนด้วยเฮกซะวาเลนต์โครเมียมสีของสารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วงหลังจากนั้นเปรียบเทียบสีที่เกิดขึ้นกับแผนภูมิสีเพื่อหาปริมาณของเฮกซะวาเลนต์โครเมียมที่ปนเปื้อน • ควิกเฮกซะวาเลนต์โครเมียมเทสต์คิต ใช้ทดสอบเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำ เหมาะกับน้ำที่มีการปนเปื้อนในระดับต่ำ ที่มีความเข้มข้นในช่วง 0.25-2 มิลลิกรัมต่อลิตร วิธีการทดสอบทำโดยละลายสารสำหรับทดสอบและสารนี้จะใช้ได้กับการทดสอบเฮกซะวาเลนต์โครเมียมได้ถึง 10 ครั้ง (ภายใน 1 เดือน) ทดสอบโดยการหยดสารทดสอบลงในน้ำที่ผ่านการปรับสภาพแล้ว สีของน้ำที่มีเฮกซะวาเลนต์โครเมียมปนเปื้อนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วงอมแดงภายใน 1 นาที หลังจากนั้นเปรียบเทียบสีที่เกิดขึ้นกับแผนภูมิสีเพื่อหาปริมาณของเฮกซะวาเลนต์โครเมียมที่ปนเปื้อน |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TLO) | |
|||||
|