![]() |
|||||
นักวิจัย
ดร. จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์
นางสาววิชญาพร คำสงฆ์ นางสาวภาติยา ภาสกนธ์ นายวิศรุต พริ้มพราย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1301001835 ยื่นคำขอวันที่ 4 เมษายน 2556
|
|||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เซนเซอร์เคมีไฟฟ้าเป็นเซนเซอร์ที่ได้รับความสนใจสำหรับการวิเคราะห์สารทางเคมีและชีวภาพ เนื่องจากคุณสมบัติเด่นที่สำคัญคือ ความไวสูง เชื่อถือได้ และมีความถูกต้องสูง แต่ยังคงความรวดเร็วของการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามเมื่อมองถึงการพัฒนาเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าระดับอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ในระยะยาว จำเป็นต้องสามารถผลิตขั้วไฟฟ้าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าที่ผลิตได้เองภายในประเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาชุดตรวจทั้งด้านเคมีและชีวภาพ อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าขั้วไฟฟ้าจากต่างประเทศได้อีกด้วย โดยทีมวิจัยได้พัฒนาขั้วไฟฟ้าด้วยวัสดุสองมิติที่มีค่าการนำไฟฟ้าที่ดีขึ้นเพื่อเพิ่มความไวให้ตรวจวัดได้แม้มีปริมาณน้อย กรรมวิธีการผลิตขั้วไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สกรีน ทำให้สามารถผลิตซ้ำได้ ขนาดขั้วไฟฟ้าเล็กลง และราคาถูก นำไปสู่การพัฒนาต้นแบบชุดตรวจที่มีประสิทธิภาพและรองรับอุตสาหกรรมการผลิตชุดตรวจในประเทศแบบครบวงจรได้
|
|||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนกราฟีนแบบใช้แล้วทิ้ง
กำลังการผลิต 1,000 ชิ้นต่อวัน มีความแม่นยำในลอตการผลิต (% RSD = 6.0, n = 60) ค่าการนำไฟฟ้าสูงกว่าขั้วไฟฟ้าคาร์บอนเดิมประมาณ 2 เท่า ใช้ปริมาณสารตรวจวิเคราะห์ประมาณ 40-80 ไมโครลิตร |
|||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
|||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
|||||
![]() ![]() |
|||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
|||||
สนใจสอบถามข้อมูล
|
|||||
|