![]() |
||||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.วีรนันท์ ไชยมณี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103001939 ยื่นคำขอวันที่ 7 กรกฎาคม 2564
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นนอกจากผู้เลี้ยงผึ้งจะประสบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการรังผึ้งแล้ว ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำความเสียหายให้กับผึ้งที่เลี้ยงก็คือปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่เป็นศัตรูของผึ้ง เช่น พวกสัตว์ที่กินผึ้งเป็นอาหาร โรค และแมลง โดยเฉพาะไร ซึ่งดำรงชีวิตแบบตัวเบียนจะดูดกินของเหลวภายในตัวผึ้งหรือเลือดผึ้ง ไรที่เป็นศัตรูของผึ้งโพรง คือ ไรวาร์รัว ผึ้งที่ถูกไรเบียนถ้ารอดชีวิตอยู่ได้จะพิการ รูปร่างผิดปกติ ปีกไม่แผ่ออกในสภาพปกติตามธรรมชาติ ผึ้งโพรงจะมีความต้านทานต่อการระบาดของไรศัตรูผึ้ง โดยจะพบเห็นไรถูกผึ้งงานกัดทำลาย และถ้าในรังผึ้งโพรงมีไรระบาดมากผึ้งโพรงจะย้ายทิ้งรัง ซึ่งดำรงชีวิตแบบตัวเบียนจะดูดกินของเหลวภายในตัวผึ้งหรือเลือดผึ้ง ไรที่เป็นศัตรูของผึ้งโพรง คือ ไรวาร์รัว ผึ้งที่ถูกไรเบียนถ้ารอดชีวิตอยู่ได้จะพิการ รูปร่างผิดปกติ ปีกไม่แผ่ออกในสภาพปกติตามธรรมชาติ ผึ้งโพรงจะมีความต้านทานต่อการระบาดของไรศัตรูผึ้ง โดยจะพบเห็นไรถูกผึ้งงานกัดทำลาย และถ้าในรังผึ้งโพรงมีไรระบาดมาก ผึ้งโพรงจะย้ายทิ้งรัง การใช้สารเคมีป้องกัน จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำ
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งไรผึ้ง ที่สกัดมาจากพืชสมุนไพร ที่ได้จากกระบวนการสกัดจนได้เป็นน้ำมันหอมระเหย เพื่อนำไปสู่การรักษาทางด้านการแพทย์ หรือการยังยั้งแบคทีเรียต่างๆ เป็นการนำพืชสมุนไพรมาสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร ในการทำเป็นสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งไรผึ้งที่มีคุณสมบัติในการฆ่าไรได้โดยวิธีการสัมผัสโดยตรง หรือการออกฤทธิ์เป็นสารรม โดยมีการทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร ดังนี้ ออกฤทธิ์เป็นสารฆ่าไร (miticide) สามารถฆ่าไรได้โดยวิธีการสัมผัสโดยตรง (direct contact) และออกฤทธิ์เป็นสารรม (fumigant) ทำให้ไรเกิดอาการมึนและขัดขวางระบบทางเดินหายใจ
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | |
|||||||
|