![]() |
||||||||
นักวิจัย
อาจารย์เปรมมิกา ศิริวิเศษวงศ์
นายจิรวงศ์ โตโสม นางสาวบุญฑริกา พลเยี่ยม นายพันธ์พจน์ ศรีประดู่ นางสาวกรภัทร์ นวลเจริญ นายวรวิทย์ บุญประจักษ์ นางสาวธาริณี ศรีตระการ คณะการจัดการธุรกิจอาหารและคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ข้าวเกรียบน้ำพริกคณาศรีเสริมแคลเซียมและใยอาหารจากปลานิล ทำจากปลานิลโดยมีการรับปลานิลมาจากธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำของชุมชน เราใช้ปลาทั้งตัวในการผลิตโดยแทบจะไม่มีส่วนของเสียหลงเหลือทิ้งสะสมกลายเป็นขยะเน่าเหม็นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในทางกลับกันส่วนของเสียที่เหลือใช้เหล่านี้มาแปรรูปและพัฒนาออกมาเป็นผงแคลเซียม ซึ่งมีชื่อว่า แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) ที่ร่างกายมนุษย์สามารถดูดซึมได้ดีที่สุดจากปลาน้ำจืด ทั้งยังมีการคิดค้นสูตรและใช้นวัตกรรม Food tech ในการผลิตผงแคลเซียมขึ้นมา เพื่อให้ใส่ลงไปในตัวข้าวเกรียบซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับก้างปลาเป็นอย่างมาก และข้าวเกรียบยังมีรสชาติของน้ำพริกสูตรเด็ดซึ่งผ่านงานวิจัยและลูกค้าพึงพอใจแล้ว
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ด้านที่ 1 นวัตกรรมวัตถุดิบ เราใช้ก้างปลาและเกล็ดปลาไปบดจนเป็นผง ที่มีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 6,608 mg /100 g เพิ่มส่วนผสมกลิ่นหอมจากสมุนไพรพื้นบ้าน ปราศจากการแต่งกลิ่น และช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
ด้านที่ 2 นวัตกรรมด้านกรรมวิธีการทำ การใช้กระบวนการทางด้าน Food Technology ด้านที่ 3 บรรจุภัณฑ์สินค้า ใช้หลักเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแนวทางการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งรูปแบบซองที่ใช้ ถ่ายทอดเอกลักษณ์วัฒนธรรมของจังหวัด |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักบริหารกลยุทธ์และนวัตกรรม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ | |
|||||||
|