![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ.ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
ผศ.ดร.จักรภพ วงศ์วิวัฒน์ ดร.ภัทรินทร์ สุพานิชวาทิน นายธนบดี มีลาภ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัท พีเค เทรเชอร์ จำกัด บริษัท วาทิน จำกัด |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2101002134 ยื่นคำขอวันที่ 14 เมษายน 2564
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002398 ยื่นคำขอวันที่ 14 กันยายน 2565 |
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การสกัดน้ำมันหอมระเหยและเทอร์ปีนมูลค่าสูงจากสมุนไพรและดอกไม้ไทยเป็นปัญหาที่ท้าทายเนื่องจากวิธีการสกัดที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดและปัญหามากมาย เช่น การใช้อุณหภูมิสูงในการสกัดสมุนไพรทำให้สารสำคัญออกฤทธิ์ในกลุ่มอัลคาลอยด์ หรือโฟวานอยด์ต่างๆที่ไม่สามารถทนอุณหภูมิสูงได้ถูกทำลาย ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคจากการปนเปื้อนของตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นพิษเช่น เฮกเซน เมทานอล และคลอโรฟอร์ม วิธีการสกัดในปัจจุบันมีความสามารถในการสกัดที่ต่ำใช้เวลานาน อีกทั้งจำเป็นที่ต้องใช้วัตถุดิบแห้งมาสกัด ไม่สามารถสกัดจากวัตถุดิบสดได้เนื่องจากน้ำในวัตถุดิบสดจะปนเปื้อนตัวทำละลาย เป็นต้นโดยผู้ประดิษฐ์ได้แก้ไขข้อจำกัดของวิธีการสกัดแบบดั่งเดิมด้วยการสร้างเทคโนโลยีการสกัดใหม่ที่ใช้ก๊าซตัวทำละลายควบแน่นที่ใช้อุณหภูมิและแรงดันต่ำในการสกัด โดยก๊าซตัวทำละลายเหล่านี้มีจุดเดือดต่ำสามารถแก้ปัญหาการระเหยตัวทำละลายออกจากสารสกัดที่อุณหภูมิสูงได้ โดยก๊าซตัวทำละลายเหล่านี้ไม่ติดไฟและถูกวนใช้งานอยู่ในระบบแบบต่อเนื่อง ไม่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดมีความปลอดภัยสูง สามารถสกัดสารสำคัญออกฤทธิ์ได้ในปริมาณมาก ๆ ที่อุณหภูมิต่ำ ได้
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1ใช้อุณหภูมิในการสกัดต่ำ และทั้งกระบวนการสกัดเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิห้อง
2ไม่มีการปนเปื้อนจากตัวทำละลายที่เป็นพิษ และตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดเป็นก๊าซควบแน่นที่มีจุดเดือดต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่สามารถตกค้างหรือมีการตกค้างในสารสกัด สามารถสกัดได้ทั้งวัตถุดิบสดและแห้ง เหมาะกับการแปรรูปสมุนไพรและดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอม 3ได้สารสารสกัดที่มีฤทธิ์ทางเวชสำอางและการแพทย์ ส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาโบราณและแพทย์แผนไทยให้เกิดการใช้งานได้อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม 4ได้พัฒนาการใช้งานก๊าซตัวทำละลายที่หลากหลาย ซึ่งต่างจากเครื่องสกัดที่มีอยู่ในอเมริกาและยุโรปซึ่งสามารถใช้ HFC 134a ได้เพียงอย่างเดียว 5สามารถเคลื่อนที่ได้ไปสกัดที่แหล่งวัตถุดิบ ลดการขนส่งวัตถุดิบในปริมาณมากๆเหลือเพียงการขนส่งสารสกัด ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งหลายร้อยเท่า 6ใช้แรงงานน้อยในการควบคุมการทำงาน เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถควบคุมสั่งการจากทางไกลได้ 7อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการสกัดสอดคล้องกับการผลิตในระดับ Pharmaceutical Grade ทุกส่วนที่สัมผัสกับสารสกัดทำจากสเตนเลส 316L |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
|
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
วิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมศาสตร์ มหาวัิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
|||||||
|