กรรมวิธีการผลิตคีเฟอร์น้ำข้าวสำหรับยับยั้งการเกิดไกลเคชั่น
นักวิจัย  
ผศ.ดร.มนตรา ศรีษะแย้ม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002901 ยื่นคำขอวันที่ 18 ตุลาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ข้าวเป็นวัตถุดิบที่มีมากในประเทศ และประเทศไทยส่งออกข้าวลำดับต้น ๆ ของโลก แนวทางพัฒนาข้าวมีตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพข้าว รวมทั้งการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ในการพัฒนาข้าวหรือแปรรูปข้าวมีหลายรูปแบบมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำนมข้าว น้ำมันรำข้าว กะทิจากข้าว ขนมอบกรอบจากข้าว มีรายงานการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาเป็นเครื่องดื่มและศึกษาผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาการนำข้าวหอมมะลิแดงมาทำการหมักกับคีเฟอร์และหาปริมาณสารประกอบฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันและเป็นสารต้านการกลายพันธุ์ (antimutagens) (สตีเฟน มอร์เสส จอห์น และ ศิริรัตน์ ดีศีลธรรม, 2558) อย่างไรก็ตามยังไม่พบการใช้ข้าวสีมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คีเฟอร์เพื่อจำหน่ายตามท้องตลาด และคีเฟอร์ที่มีฤทธิ์ไกเคชัน เกี่ยวข้องกับสุขภาพคือต้านเบาหวานและต้านความชรา ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ผู้คิดค้นจึงมีแนวคิดในการนำข้าวมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวและเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ เนื่องจากคีเฟอร์โดยปกติแล้วเป็นผลิตภัณฑ์นมหมักท
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
คีเฟอร์นมข้าวสีรูปแบบผงนับเป็นหนึ่งในอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการ และสารสำคัญทางชีวภาพที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งผลิตภัณฑ์คีเฟอร์นมข้าวสีรูปแบบผงมีลักษณะเป็นผงสีชมพูอมม่วง เนื่องจากเป็นสีของข้าว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว วิธีการรับประทานของผลิตภัณฑ์นี้สามารถนำมาชงกับน้ำ หรือผสมในเครื่องดื่มชนิดอื่น หรือผสมในอาหารต่าง ๆ ได้ ซึ่งประโยชน์ของคีเฟอร์นมข้าวสีรูปแบบผงนี้ มีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียบางชนิดได้ ยับยั้งไกลเคชัน ยับยั้งอนุมูลอิสระ ยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส ยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสที่เป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้งและย่อย oligo-saccharides ให้กลายเป็น glucose ตามลำดับ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยชะลอวัย ป้องกันเซลล์ในร่างกายถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันโรคเบาหวานจากการยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวณัฐมน วิจารณกุล
โทรศัพท์ 055-267038 ต่อ 7217
โทรศัพท์มือถือ 097 - 2693922
Email nuttamon.w@psru.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผลิตคีเฟอร์น้ำข้าวสำหรับยับยั้งการเกิดไกลเคชั่น"