![]() |
||||||||
นักวิจัย
ดร. นิตยา ภูงาม
ดร. ณัฎวลิณคล เศรษฐปราโมทย์ ผศ.ดร. ศุภลักษณ์ เกตุตากแดด คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303003398 ยื่นคำขอวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาเส้นไร้สปาเก็ตตี้แป้งจากสาหร่ายไก (Cladophora glomerata) ที่มี แคอรี่ต่ำสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้พลังงานน้อย ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลในเอกสารที่เกี่ยวข้องยังไม่พบการนำสาหร่ายไกมาพัฒนาเป็นเส้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้ทางผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคเหนือ และภาคอีสานที่มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารมาพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่เพื่อให้เป็นที่รู้จักกับคนรุ่นใหม่ที่อาจไม่คุ้นชินกับสาหร่ายไก หรือ ไม่กล้ารับประทานสาหร่ายไก เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภคอีกทางด้วยรวมทั้งเป็นการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้สูงขึ้น ด้วยนวัตกรรมใหม่ซึ่งในอนาคตสามารถนำไปสนับสนุนให้เข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารที่จะสร้างรายได้ และอาชีพให้แก่ชุมชน จังหวัด และประเทศชาติ
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์เส้นสปาเก็ตตี้ทดแทนแป้งด้วยสาหร่ายไกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีพลังงานต่ำ เนื่องจากภายในส่วนผสมไม่มีแป้งที่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานหลัก แต่มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์ ดังนั้นผู้บริโภคที่รับประทานผลิตภัณฑ์นี้จะได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับวัตถุดิบจากธรรมชาติให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
|
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ | |
|||||||
|