![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ.ดร.เอนก หาลี
นางสาวหนึ่งฤทัย จักศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2403002009 ยื่นคำขอวันที่ 2 กรกฎาคม 2567
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จังหวัดกำแพงเพชรได้มีการผลิตและแปรรูปข้าวรวมถึงเมล็ดกัญชงโดยมุ่งเน้นเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเชิงหน้าที่ โดยผลิตภัณฑ์หลักคือข้าวแบ่งบรรจุ ผลิตภัณฑ์ชาหมัก น้ำมันจากเมล็ดกัญชง น้ำมันรำข้าว ดังนั้นจึงทำให้มีกากจากเมล็ดกัญชงเป็นผลพลอยได้จำนวนมาก ซึ่งส่วนมากนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์และใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับแหล่งโปรตีนทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะโปรตีนจากพืช ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบทางธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสูดตามแนวคิด BCG Model โดยการใช้เทคโนโลยีเอนไซม์ในการพัฒนาโปรตีนจากพืช (กากเมล็ดกัญชง) โดยการใช้เทคโนโลยีเอนไซม์ในการผลิตโปรตีนจากพืชที่มีประสิทธิภาพร่วมกับวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงเหมาะต่อการพัฒนาเป็นอาหารเชิงหน้าที่ (Functional Food)
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ใช้เทคโนโลยีเอนไซม์ในการสกัดโปรตีนจากกากเมล็ดกัญชง เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลที่เหมาะสมต่อร่างกาย และใช้ใยอาหารซึ่งจัดเป็น prebiotic ช่วยดูแลระบบขับถ่ายและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยผ่อนคลายจากสาร CBD เหมาะกับผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคโปรตีนทางเลือกจากพืชแต่ต้องการหลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วเหลืองที่อาจมีผลข้างเคียงจากการบริโภค โปรตีนที่ได้มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็กดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วและใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้นและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระช่วยดูแลระบบขับถ่ายและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยผ่อนคลายจากสาร CBD เหมาะกับผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคโปรตีนทางเลือกจากพืชแต่ต้องการหลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วเหลือง
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
||||||||
![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร | |
|||||||
|